📒
Knowledge-Base
  • Knowledge Base
  • Tutorials
    • Python
      • Introduction
      • Important basic syntax
      • Awesome Python
      • Python 101
      • Python Cheat sheet
      • โครงสร้างของภาษา
      • Library & Package
      • Variable & Data Types
      • Lists
      • Dictionary
      • Function
      • Built-in Function
        • enumerate()
      • Modules
      • Classes & Objects
      • Inheritance
      • Date & Time
      • การใช้งาน Virtualenv
    • Pandas
      • Learning Pandas Second Edition
        • 2. Running with pandas
        • 3. Data with the Series
        • 4. Create DataFrame
        • 5. Manipulating DataFrame Structure
  • e-Book
    • Tech
      • Automate the Boring Stuff
      • A Whirlwind Tour of Python
  • Innovation & Tech
    • Python
    • Pandas
      • 10 Pandas tips
    • Web Scraping
      • Web Scraping 101
      • Requests and BeautifulSoup
  • Industry
    • 20 แนวคิดขายของออนไลน์
    • แผนระยะยาวของ Toyota
    • โลกหลังยุคโลกาภิวัฒน์
  • Opinion
    • บรรยง พงษ์พานิช: กับดักรัฐราชการ 4.0
    • ปัญญาภิญโญ ณ Wongnai WeShare
    • ประเทศไทยในความคิด ความคิดในประเทศไทย
    • การสถาปนา ‘รัฐบรรษัทอำนาจนิยม’ ในสังคมไทย
  • People
    • “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”
    • โซเชียลมีเดีย ในมุมมองของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
  • Parent
    • ADULTIFICTION
    • ความฉลาดสร้างได้
    • การเรียนรู้ของลูกในวันนี้
    • CODING คืออะไร
    • สอน CODING อย่างไรให้ง่าย
    • 8 ข้อครูควรรู้ เมื่อจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
  • Lift
    • คุณรู้สึกว่า โลกทุกวันนี้หมุนเร็วและแคบลงหรือเปล่า?
    • ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้าง
    • กฎ 40% ของหน่วย SEAL
    • e-Book
      • Sapiens – A Brief History of Humankind
        • [สรุป] โฮโม เซเปียนส์ สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่
        • ตอนที่ 1- กำเนิด Homo Sapiens
        • ตอนที่ 2 – สิ่งที่ทำให้เราครองโลก
        • ตอนที่ 3 – ยุคแห่งการล่าสัตว์เก็บพืชผล
        • ตอนที่ 4 – การหลอกลวงครั้งยิ่งใหญ่
        • ตอนที่ 5 – คุกที่มองไม่เห็น
        • ตอนที่ 6 – กำเนิดภาษาเขียน
        • ตอนที่ 7 – ความเหลื่อมล้ำ
        • ตอนที่ 8 – โลกที่ถูกหลอมรวม
        • ตอนที่ 9 – มนตราของเงินตรา
        • ตอนที่ 10 – จักรวรรดิ
        • ตอนที่ 11 – บทบาทของศาสนา
        • ตอนที่ 12 – ศาสนาไร้พระเจ้า
        • ตอนที่ 13 – ยุคแห่งความไม่รู้
        • ตอนที่ 14 – 500 ปีแห่งความก้าวหน้า
        • ตอนที่ 15 – เมื่อยุโรปครองโลก
        • ตอนที่ 16 – สวัสดีทุนนิยม
        • ตอนที่ 17 – จานอลูมิเนียมของนโปเลียน
        • ตอนที่ 18 – ครอบครัวล่มสลาย
        • ตอนที่ 19 – สุขสมบ่มิสม
        • ตอนที่ 20 – อวสาน Sapiens
      • Homo Deus
        • [สรุปหนังสือ] Homo Deus
        • ตอนที่ 1: สามวาระใหม่แห่งอนาคต
        • ตอนที่ 2: คำสาปเรื่องดีอุส
        • ตอนที่ 3: เซเปียนส์ครองโลกได้อย่างไร
        • ตอนที่ 4: พลังของจิตวิสัยร่วม
        • ตอนที่ 5: ข้อตกลงเรื่องความทันสมัยกับเทวทัณฑ์
        • ตอนที่ 6: ปลายทางของการปฏิวัติมนุษย์นิยมคืออภิมนุษย์
        • ตอนที่ 7: ไม่มีทั้งเจตจำนงเสรีและวิญญาณในโลกของข้อมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 8: เซเปียนส์กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
        • ตอนที่ 9: มิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคขัอมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 10: พลังกุณฑาลินี คือเส้นทางสู่ด้านสว่างของ Homo Deus
        • ตอนที่ 11: ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง​(Theory​ of​ Everything)​ของลัทธิข้อมูลนิยมกับ​วิถีแห่งตัวตน
        • ตอนที่ 12: เราต้องก้าวข้ามแต่หลอมรวมลัทธิข้อมูลนิยม
  • See Behind the FX rate
  • Obtaining Stock Prices
  • Monte Carlo Simulation in Finance Python Part-2
  • The Easiest Data Cleaning Method using Python & Pandas
  • How to use iloc and loc for Indexing and Slicing Pandas Dataframes
  • Converting HTML to a Jupyter Notebook
  • Top 50 Tips & Tricks
Powered by GitBook
On this page

Was this helpful?

  1. Lift

กฎ 40% ของหน่วย SEAL

Previousปัจจุบันเราต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้างNexte-Book

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

กฎ 40% ของหน่วย SEAL

enter image description here

มาจากบทความชื่อ Navy SEALs Have a ’40 Percent Rule’ and It’s the Key to Overcoming Mental Barriers เขียนโดย Jesse Itzler ผมเองเคยแต่ได้ยินว่าหน่วย SEAL นี่เป็นทหารขั้นเทพมากๆ พอมาหาข้อมูลเพิ่มเติมถึงรู้ว่า SEAL ย่อมาจาก SEa, Air, Land นั่นหมายถึงหน่วยงานที่สามารถปฏิบัติการได้ทั้งทางน้ำ ทางอากาศ และทางบกนั่นเอง ชื่อภาษาไทยของหน่วย SEAL คือ หน่วยทำลายใต้น้ำจู่โจม และก่อนจะเป็นหน่วย SEAL ได้ต้องผ่านการฝึกหฤโหดเจ็ดเดือนเต็มๆ ไปดูภาพการฝึกได้ที่เว็บพันทิปที่คุณ BR Style เขียนแชร์ไว้ครับ

มาเข้าเรื่องกันบ้าง

เจสซี่ได้พบกับทหารจากหน่วยซีลครั้งแรกในวันที่ไปแข่งวิ่ง 100 ไมล์ หรือประมาณ 160 กิโลเมตร (ประมาณสี่เท่าของระยะทางวิ่งมาราธอน) เจสซี่ไปวิ่งแบบผลัดกับเพื่อน โดยทั้งทีมมี 6 คน (แสดงว่าวิ่งกันละประมาณ 25 กิโลเมตร) แต่ทหารจากหน่วยซีลที่เจสซี่เจอในวันนั้นวิ่ง 160 กิโลเมตรด้วยตัวคนเดียว!

ระหว่างทางที่วิ่ง กระดูกเท้าชิ้นเล็กๆ ของนายทหารคนนี้แตกไปหลายชิ้น แถมยังเจอภาวะไตล้มเหลวอีกต่างหาก แต่สุดท้ายเขาก็วิ่งเข้าเส้นชัยได้ เจสซี่ประทับใจชายคนนี้มาก (ผมขอเรียกเขาว่านายซีลแล้วกันนะ) เลยคุยกับนายซีลและขอให้เขามาพักอยู่ที่บ้านซักระยะเพราะเจสซี่เชื่อว่าน่าจะได้เรียนรู้อะไรมากมาย

แค่วันแรกที่ได้เจอกัน เจสซี่ก็ได้บทเรียนสำคัญแล้ว

นายซีลถามเจสซี่ว่า โหนบาร์ (pull-ups) ได้กี่ครั้ง เจสซี่ตอบว่าทำได้ไม่เยอะหรอกเพราะโหนบาร์ไม่เก่ง นายซีลเลยบอกให้เจสซี่ลองทำดู เจสซี่ทำได้ 8 ครั้งก็หมดแรง ลงมาพักได้ 30 วินาที นายซีลก็บอกว่า ลองใหม่ คราวนี้เจสซี่โหนบาร์ได้ 6 ครั้งก็หมดแล้ว พักได้อีก 30 วินาที นายซีลก็บอกว่า ลองใหม่เจสซี่ทำได้อีกแค่ 4 ครั้งก็ลงไปกอง

แล้วนายซีลก็บอกเจสซี่ว่า เอาล่ะ เราจะยังไม่ไปไหนจนกว่าคุณจะโหนบาร์อีก 100 ครั้ง 100 ครั้ง??!! เจสซี่ทักท้วงว่า สงสัยคงต้องอยู่กันทั้งคืนแล้วล่ะ เพราะแขนเขาไม่มีแรงเหลือแล้วจริง ๆ แต่นายซีลก็ยังยืนยันให้เจสซี่ลองทำดู เจสซี่จึงจำใจกัดฟันโหนบาร์ทีละครั้ง สองครั้ง และสุดท้ายเจสซี่ก็ทำครบ 100 ครั้งจริง ๆ นายซีลเลยกล่าวประโยคนี้กับเจสซี่

"When your mind is telling you you’re done, you’re really only 40 percent done."

"ตอนที่ใจคุณบอกว่าหมดแรงแล้ว จริงๆ แล้วคุณหมดไปแค่ 40% เอง"

และนั่นคือกฎ 40% ที่หน่วยซีลในสหรัฐอเมริกายึดถือกัน

อาจเป็นเพราะว่าหน่วยซีลได้ผ่านการฝึกฝนอย่างหนักหน่วงจนรู้แล้วว่า ร่างกายมนุษย์เรานั้นมีพลังสำรองมากกว่าที่เราคิด เจสซี่ยังบอกอีกว่า ในอเมริกานั้น คนที่ลงแข่งมาราธอนถึง 99% วิ่งจนถึงเส้นชัย เป็นเรตที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อ

เจสซี่บอกว่า นักวิ่งส่วนใหญ่ที่วิ่งไปประมาณครึ่งทางจะเจอ “กำแพง” ที่คิดว่าตัวเองไม่สามารถข้ามได้ และคิดจะล้มเลิกกลางทาง แต่สุดท้ายร่างกายก็ยังไปต่อได้ และก็ลากสังขารตัวเองไปจนถึงเส้นชัยจนได้ กฎ 40% จะว่าไปก็น่าทึ่ง แต่มันก็อันตรายเช่นกัน เพราะถ้าเราหักโหมมากเกินไปก็อาจจะบาดเจ็บได้ แต่อย่างน้อยเราก็ควรจะ “ทด” ตัวเลข 40% นี้ไว้ในใจ เพราะในวันที่เราบอกตัวเองว่า “ไม่ไหวแล้ว” เราจะได้ฉุกคิดได้ว่า “เอ…หรือจริงๆ เรายังไหว?” เพราะเพิ่งจะ 40% เอง

เราอาจไปไม่ถึง 100% เพราะกลัวอันตราย แต่ถ้าจะไปให้ถึง 50% หรือ 60% ก็เป็นวิสัยที่เราจะทำได้ไม่ใช่หรือ?

ที่มาบทความ .

anontawong.com