📒
Knowledge-Base
  • Knowledge Base
  • Tutorials
    • Python
      • Introduction
      • Important basic syntax
      • Awesome Python
      • Python 101
      • Python Cheat sheet
      • โครงสร้างของภาษา
      • Library & Package
      • Variable & Data Types
      • Lists
      • Dictionary
      • Function
      • Built-in Function
        • enumerate()
      • Modules
      • Classes & Objects
      • Inheritance
      • Date & Time
      • การใช้งาน Virtualenv
    • Pandas
      • Learning Pandas Second Edition
        • 2. Running with pandas
        • 3. Data with the Series
        • 4. Create DataFrame
        • 5. Manipulating DataFrame Structure
  • e-Book
    • Tech
      • Automate the Boring Stuff
      • A Whirlwind Tour of Python
  • Innovation & Tech
    • Python
    • Pandas
      • 10 Pandas tips
    • Web Scraping
      • Web Scraping 101
      • Requests and BeautifulSoup
  • Industry
    • 20 แนวคิดขายของออนไลน์
    • แผนระยะยาวของ Toyota
    • โลกหลังยุคโลกาภิวัฒน์
  • Opinion
    • บรรยง พงษ์พานิช: กับดักรัฐราชการ 4.0
    • ปัญญาภิญโญ ณ Wongnai WeShare
    • ประเทศไทยในความคิด ความคิดในประเทศไทย
    • การสถาปนา ‘รัฐบรรษัทอำนาจนิยม’ ในสังคมไทย
  • People
    • “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”
    • โซเชียลมีเดีย ในมุมมองของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
  • Parent
    • ADULTIFICTION
    • ความฉลาดสร้างได้
    • การเรียนรู้ของลูกในวันนี้
    • CODING คืออะไร
    • สอน CODING อย่างไรให้ง่าย
    • 8 ข้อครูควรรู้ เมื่อจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
  • Lift
    • คุณรู้สึกว่า โลกทุกวันนี้หมุนเร็วและแคบลงหรือเปล่า?
    • ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้าง
    • กฎ 40% ของหน่วย SEAL
    • e-Book
      • Sapiens – A Brief History of Humankind
        • [สรุป] โฮโม เซเปียนส์ สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่
        • ตอนที่ 1- กำเนิด Homo Sapiens
        • ตอนที่ 2 – สิ่งที่ทำให้เราครองโลก
        • ตอนที่ 3 – ยุคแห่งการล่าสัตว์เก็บพืชผล
        • ตอนที่ 4 – การหลอกลวงครั้งยิ่งใหญ่
        • ตอนที่ 5 – คุกที่มองไม่เห็น
        • ตอนที่ 6 – กำเนิดภาษาเขียน
        • ตอนที่ 7 – ความเหลื่อมล้ำ
        • ตอนที่ 8 – โลกที่ถูกหลอมรวม
        • ตอนที่ 9 – มนตราของเงินตรา
        • ตอนที่ 10 – จักรวรรดิ
        • ตอนที่ 11 – บทบาทของศาสนา
        • ตอนที่ 12 – ศาสนาไร้พระเจ้า
        • ตอนที่ 13 – ยุคแห่งความไม่รู้
        • ตอนที่ 14 – 500 ปีแห่งความก้าวหน้า
        • ตอนที่ 15 – เมื่อยุโรปครองโลก
        • ตอนที่ 16 – สวัสดีทุนนิยม
        • ตอนที่ 17 – จานอลูมิเนียมของนโปเลียน
        • ตอนที่ 18 – ครอบครัวล่มสลาย
        • ตอนที่ 19 – สุขสมบ่มิสม
        • ตอนที่ 20 – อวสาน Sapiens
      • Homo Deus
        • [สรุปหนังสือ] Homo Deus
        • ตอนที่ 1: สามวาระใหม่แห่งอนาคต
        • ตอนที่ 2: คำสาปเรื่องดีอุส
        • ตอนที่ 3: เซเปียนส์ครองโลกได้อย่างไร
        • ตอนที่ 4: พลังของจิตวิสัยร่วม
        • ตอนที่ 5: ข้อตกลงเรื่องความทันสมัยกับเทวทัณฑ์
        • ตอนที่ 6: ปลายทางของการปฏิวัติมนุษย์นิยมคืออภิมนุษย์
        • ตอนที่ 7: ไม่มีทั้งเจตจำนงเสรีและวิญญาณในโลกของข้อมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 8: เซเปียนส์กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
        • ตอนที่ 9: มิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคขัอมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 10: พลังกุณฑาลินี คือเส้นทางสู่ด้านสว่างของ Homo Deus
        • ตอนที่ 11: ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง​(Theory​ of​ Everything)​ของลัทธิข้อมูลนิยมกับ​วิถีแห่งตัวตน
        • ตอนที่ 12: เราต้องก้าวข้ามแต่หลอมรวมลัทธิข้อมูลนิยม
  • See Behind the FX rate
  • Obtaining Stock Prices
  • Monte Carlo Simulation in Finance Python Part-2
  • The Easiest Data Cleaning Method using Python & Pandas
  • How to use iloc and loc for Indexing and Slicing Pandas Dataframes
  • Converting HTML to a Jupyter Notebook
  • Top 50 Tips & Tricks
Powered by GitBook
On this page

Was this helpful?

  1. Parent

ADULTIFICTION

PreviousParentNextความฉลาดสร้างได้

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

ADULTIFICTION เราสูญเสียอะไรกันไปบ้างในโลกที่เด็กถูกเร่งโต

  • Adultification คือศัพท์ที่ใช้นิยามเด็กในปัจจุบันที่ถูกคาดหวังให้ต้องเก่งตั้งแต่ยังเล็ก ส่วนหนึ่งมากจาก ภาวะเร่งโต เห็นได้จากนโยบายการสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนในเด็กเล็ก ผลร้ายของภาวะนี้อาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางจิตและพฤติกรรมในเด็กเล็กได้

  • การเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กปฐมวัยเกิดขึ้นง่ายๆ แค่พ่อแม่ให้เวลาคุณภาพกับเขา คุยกับเขา สนทนาโต้ตอบด้วยคำถามปลายเปิดมากกว่าการที่จะคาดคั้นให้ลูกตอบคำถามให้ได้

  • เข้าใจพัฒนาการ มีวิธีการสอนที่ยืดหยุ่น เปิดกว้างในการสื่อสาร กล้าคิด กล้าตั้งคำถาม คือคุณสมบัติของโรงเรียนที่พ่อแม่ควรตามหา

ในระบบการศึกษาบ้านเรา (หรืออาจทั่วโลก) มีคำถามที่ยังขบไม่แตกและอยู่ในวังวนปัญหาแบบคาบลูกคาบดอกเสมอว่า เรากำลังเร่งให้เด็กวัยเตาะแตะเข้าเรียนเร็วเกินไปหรือเปล่า? อะไรสำคัญกว่ากันระหว่างการหักใจส่งลูกเข้าเตรียมอนุบาลให้เขาพร้อมสำหรับอนาคตเสียแต่เนิ่นๆ หรือ ควรให้เขาอยู่ใกล้ชิดอ้อมอกพ่อแม่และเล่นสนุกตามวัยของเขา?

จากที่เคยเห็นเป็นเรื่องน่าตกใจ ผู้ใหญ่ยุคนี้กำลังค่อยๆ คุ้นชินกับภาวะการแข่งขันทางการศึกษาที่ลูกหลานต้องสอบคัดเลือกเข้าเรียนกันตั้งแต่ชั้นอนุบาล ใช่ค่ะ ขอย้ำว่าอนุบาล! เรามาถึงจุดที่ต้องเริ่มพาลูกๆ ไปเข้าเตรียมอนุบาลที่โฆษณาว่ามีการปูพื้นวิชาให้เด็กๆ เตรียมพร้อมกับห้องเรียนตั้งแต่บางคนยังพูดไม่ชัดกันแล้ว

อย่าเพิ่งฟันธงว่านี่เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาที่เด็กทุกวันนี้ลอยคออยู่ในความเครียดตั้งแต่วัยเพิ่งชั้นประถม และจำทนอยู่กับระบบที่พยายามเร่งให้เขาโตเป็นผู้ใหญ่เกินตัว จนกว่าจะอ่านบทสัมภาษณ์จาก เอริกา คริสตากิส ผู้เขียนหนังสือขายดีติดชาร์ต ‘The Importance of Being Little: What Young Children Really Need From Grownups’ (ความสำคัญของการเป็นเด็กสมวัย: แท้จริงแล้วเด็กต้องการอะไรจากพ่อแม่) ข้างล่างนี้

เอมิลี แคพลัน นักเขียนประจำ Edutopia (เว็บไซต์เพื่อการศึกษาซึ่งก่อตั้งโดยทุนของนายจอร์จ ลูคัส หรือที่ทุกคนรู้จักกันในฐานะพ่อมดแห่งวงการฮอลลีวูด) ได้ไปสัมภาษณ์ เอริกา คริสตากิส ถึงประเด็นปัญหาของวัฒนธรรมการศึกษาในสหรัฐ ซึ่งเธอแสดงออกถึงความเป็นห่วงไว้ตัวโตๆ ผ่านหน้าหนังสือว่าเด็กกำลังถูกเร่งให้โตเกินวัยและโดนขีดฆ่าการเล่นสนุกออกจากวงจรการเรียนรู้

ในฐานะที่คริสตากิสเคยดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำศูนย์ศึกษาเด็กแห่งมหาวิยาลัยเยล (The Yale Child Study Center) เธอสัมผัสว่าการเปลี่ยนผ่านสู่โลกศตวรรษที่ 21 นี่เองคือตัวแปรหลักที่ผลักให้สถานะของเด็กเจนฯ นี้กลายเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่ถูกผู้ใหญ่ตั้งเป้าตักตวงศักยภาพทางเศรษฐกิจและประสิทธิผลความก้าวหน้ามากกว่าจะมองถึงมิติความเป็นคนที่ละเอียดอ่อนมีหัวใจ

“เรากำลังอยู่ในวิกฤติที่ลูกหลานต้องสูญเสียวัยเยาว์ของเขาไป เพราะผู้ใหญ่ไม่รับฟังความต้องการของเขา และที่ร้ายแรงที่สุดคือไม่สนใจว่าสิ่งที่จำเป็นอย่างแท้จริงสำหรับเด็กวัยอย่างพวกเขาคืออะไร ทุกวันนี้เราพูดถึงลูกเหมือนกำลังพูดถึงสินค้าในแง่ที่ต้อง ‘ลงทุนอย่างไร เท่าไหร่จึงจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากลับมา’ มากขึ้นทุกที พ่อแม่หมกมุ่นกับอนาคตของลูกหลานจนพยายามจัดวางชีวิตเขาไว้บนประสบการณ์ที่ต่างจากปกติธรรมชาติและเคร่งครัดเสียยิ่งกว่าที่ผู้ใหญ่เป็น”

เมื่อการเล่นสนุกกำลังจางหายไปจากศตวรรษที่ 21

คริสตากิสชี้ว่าในยามนี้ ชีวิตปลอดภัยไร้ทุกข์ของเด็กๆ กำลังถูกกลืนกินด้วยความเคร่งเครียดจากการถูกยัดเยียดให้โตเป็นผู้ใหญ่ Adultification คือศัพท์ที่เธอใช้นิยามสภาพการณ์ปัจจุบันที่เด็กถูกคาดหวังให้ต้องเก่งตั้งแต่ยังเล็กและกินอยู่ในตารางเรียนที่เร่งรัดให้คิดอ่านอย่างเป็นผู้ใหญ่เกินตัว

ส่วนหนึ่งของ ‘ภาวะเร่งโต’ เห็นได้จากนโยบายการสอบคัดเลือกเด็กวัยเตาะแตะเข้าเตรียมอนุบาลที่โรงเรียนทั่วโลกพากันตบเท้าใช้ตามกันเป็นว่าเล่น ผลคือปัญหาทางจิตและพฤติกรรมเกิดขึ้นเยอะมากกับเด็กเล็ก

อีกทั้งความย้อนแย้งของพ่อแม่หรือแม้แต่ครูทั้งหลายเองก็ตามที แม้ตระหนักดีว่าสมองของเด็กยังพัฒนาไม่ได้เต็มที่และไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รับมือกับตารางกิจกรรมที่หนักอึ้งเร่งรีบเหมือนผู้ใหญ่ แต่ก็อดไม่ได้ที่จะมองว่าการปล่อยให้ลูกรักขุดดินเล่นเป็นชั่วโมงๆ คงไม่ทำให้ได้อะไรขึ้นมา อย่างน้อยน่าจะเอาเวลามาหัดแก้โจทย์เลขดีกว่า

อย่างไรก็ตาม อย่าว่าแต่จะหาเวลาว่างมาเล่นสนุกได้เลย ลองสังเกตดูจะเห็นว่าเด็กเจนฯ นี้คิดครีเอทการละเล่นขึ้นมาด้วยตัวเองเหมือนสมัยก่อนไม่เป็นเลย

“ถ้าเกิดจู่ๆ เราชวนเด็กที่ไม่เคยมีเวลาว่างจากตารางการเรียนที่รัดตัวหรือเคยเล่นสนุกกับวัสดุเครื่องมืออย่างเสรีมาก่อน ให้มาเล่นสร้างป้อมปราการจากกระดาษลังกันเถอะ จะเห็นเลยว่าพวกเขาพากันหงุดหงิดและงงที่เราให้ทำอะไรแบบนั้น”

มาวันนี้สังคมดูเหมือนจะลดทอนคุณค่าของการเล่นให้เหลือน้อยลงทุกที กลายเป็นว่าเด็กเล่นนอกบ้านและได้ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่กันน้อยมาก การเล่นที่วิวัฒน์ด้วยเทคโนโลยีซึ่งก่อปัญหาก็มากขึ้น เด็กต่างวัยไม่มีโอกาสรวมกลุ่มปฏิสัมพันธ์กับเด็กเล็กไม่ได้เรียนรู้ทักษะด้านต่างๆ จากเด็กโต และเด็กโตไม่มีประสบการณ์ที่ได้หัดเรียนรู้ที่จะอ่อนโยนและเล่นกับน้องๆ อย่างเอื้อเฟื้อยุติธรรม

โรงเรียนเตรียมอนุบาลจำเป็นมากแค่ไหนในยุคนี้

“ผู้ใหญ่ที่เคยเห็นสีหน้าฉายแววสงสัยใคร่รู้ของเด็กที่จ้องเขม็งขณะผีเสื้อร่อนลงบนดอกไม้ จะเข้าใจว่าการเรียนรู้เป็นอะไรที่มากกว่าห้องเรียน”

ในหนังสือของเธอ คริสตากิสแสดงจุดยืนชัดเจนว่าการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องอยู่ใน preschool เสมอไป หรือพูดง่ายๆ ก็คือน้องๆ หนูๆ ไม่จำเป็นต้องเข้าโรงเรียนเตรียมอนุบาลเลยก็ได้

เธอให้อรรถาธิบายคำกล่าวอันทรงพลังข้างต้นว่า ที่จริงแล้วเด็กสามารถเรียนรู้ได้ในทุกบริบทแวดล้อม ภายใต้เงื่อนไขว่าหากได้รับความรักความเอาใจใส่จากผู้ใหญ่อย่างอบอุ่นเพียงพอควบคู่ไป พวกเขาก็ไม่จำเป็นต้องรีบเข้าเรียนชั้นเตรียมอนุบาลที่มีเสียงออดเสียงนกหวีดคอยบอกเวลาเรียนเลย

ตามธรรมชาติของการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัยเกิดจากการสื่อสารแบบ the serve-and-return หรือการที่ผู้ใหญ่สนทนา ‘โต้ตอบ’ กับเขา คริสตากิสหยิบยกงานศึกษามาอธิบายเสริมว่าเพียงแค่พ่อแม่และครูรู้วิธีที่จะปฏิสัมพันธ์กับเด็กๆ ด้วยการสนทนาโต้ตอบเป็นกิจวัตรทุกวัน สถานะครอบครัวจะยากดีมีจนอย่างไร เด็กก็สามารถที่จะมีพัฒนาการการเรียนรู้ได้ไม่ต่างกัน

นอกจากเด็กจำเป็นต้องมีเวลาคุณภาพกับพ่อแม่ การสนทนาปลายเปิดมีความสำคัญมาก ผู้ใหญ่ควรหมั่นตั้งคำถามปลายเปิดใส่เขาบ่อยๆ เช่น “เล่าถึงสิ่งที่หนูกำลังวาดอยู่หน่อยสิจ๊ะ” แทนที่จะถามเด็กแบบตัดจบตรงๆ เช่น “แอปเปิ้ลสีอะไร” หรือ “หนูกำลังวาดอะไรอยู่” ให้เขาได้ฟุ้งฝอยเรื่องเพ้อฝันให้ผู้ใหญ่ฟัง หรือได้ฟังผู้ใหญ่อ่านหนังสือและนิทานดีๆ แล้วถามคำถามที่สงสัย ใช้ภาษาสื่อสารที่มีเมตตากรุณา คุยเล่นอย่างสนุกสนาน การตั้งคำถามแบบที่เด็กสามารถตอบอะไรก็ได้จะช่วยให้ความคิดเขาไปได้ไกลขึ้นและเรียนรู้ได้ลึกซึ้งมากขึ้น

ถ้าต้องเลือก โรงเรียนที่มีคุณภาพเหมาะสมกับเด็กปฐมวัยควรเป็นอย่างไร

ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ แคพลันไม่พลาดที่จะถามแทนใจพ่อแม่หลายคนที่รู้สึกโอเคกับการเตรียมเด็กๆ ให้คุ้นกับชั้นเรียนไว้แต่เนิ่นๆ แต่อาจยังคิดไม่ตกกับตัวเลือกในมือว่าควรฝากฝังลูกและอนาคตของพวกเขาไว้ที่ไหนจึงจะดีที่สุด

คริสตากิสแนะว่าหากจะหาโรงเรียนชั้นปฐมวัยให้ลูก สิ่งที่พ่อแม่ต้องสืบดูให้ดีคือ

1. โรงเรียนแห่งนั้นให้ความสำคัญด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนมากน้อยแค่ไหน โรงเรียนคุณภาพหมายถึงโรงเรียนที่มีครูที่ดี คือต้องรู้จักพัฒนาการทั่วไปของเด็ก (เช่น เด็กอายุสามขวบทำอะไรได้บ้าง-ไม่ได้บ้าง) ไปจนถึงพัฒนาการเฉพาะตัวของเด็กแต่ละคนที่ตนดูแล (เด็กคนนี้ดูหนังสือภาพเข้าใจ ชอบฟังนิทานแต่ยังสื่อสารศัพท์ไม่ได้)

เกณฑ์วัดคุณภาพใดๆ ที่ใช้กันทุกวันนี้ เช่น ขนาดและบรรยากาศของห้องเรียนหรือหลักสูตรไม่อาจเทียบเท่าการมีครูที่สามารถปรับตัวเข้าหาเด็กในความดูแลได้ มีใจปกป้องสิทธิและประโยชน์ของเด็กโดยไม่ยอมให้กฎระเบียบจากโรงเรียนหรือรัฐเข้ามามีบทบาทอยู่เหนือการเรียนรู้

2. โรงเรียนที่ดีควรมีแผนการสอนที่ยืดหยุ่นเข้ากับเด็ก ไม่ถึงขนาดต้อง free-for-all คือเอาเด็กเป็นที่ตั้งไปเสียหมด ต้องมีการวางแผนกิจกรรม สิ่งที่ทำเป็นกิจวัตรในชั้นเรียน หัวข้อการเรียนรู้ที่ให้ทำความเข้าใจและใช้ได้จริง มีการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้สดใหม่ตลอดเวลาเพื่อกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของหนูๆ ด้วย ทั้งหมดนี้ครูจึงต้องเป็นผู้คอยสังเกตและถอดบทเรียนแก้ไขอย่างค่อยเป็นค่อยไปว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดต่อเด็กด้วย

3. โรงเรียนต้องมีวัฒนธรรมที่เปิดกว้างในการสื่อสารกับเด็ก ให้เขากล้าตั้งคำถาม กล้าเล่าความคิดฝันหรือแบ่งปันจินตนาการร่วมกันอย่างเสรี การเรียนรู้ในชั้นจึงอยู่บนพื้นฐานของการแบ่งปันและพึ่งพากันและกัน (collegial) โดยกลไกเหล่านี้จะต้องเข้ามาตอบสนองประสบการณ์ที่แตกต่างกันของเด็กๆ ซึ่งมาจากร้อยพ่อพันแม่ บางคนอาจไม่มีอะไรตกถึงท้องตั้งแต่เมื่อคืน หรือบางคนคุณแม่เพิ่งคลอดน้องหรือปู่กับย่ามาเยี่ยมที่บ้าน การสื่อสารอย่างเอาใจใส่ เปิดกว้างและเข้าใจจะนำทางให้พวกเขาเรียนรู้และเติบโตทางอารมณ์และสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ทั้งหมดนี้เป็นทัศนะส่วนหนึ่งของงานเขียนที่คริสตากิสพยายามขีดเส้นเน้นความสำคัญของการเป็นเด็กสมวัย หรือ ‘being little’ ตามแบบฉบับของเธอ ไม่ว่าพ่อแม่จะสะดวกใจที่จะจัดวางชีวิตวัยเยาว์ของลูกไว้แบบไหน ขอให้ความสำคัญกับความไร้เดียงสาตามธรรมชาติของเด็ก ซึ่งร่างกายและอารมณ์ช่วงปฐมวัยจำเป็นต้องได้ใช้งานผ่านการวิ่งเล่นหัวเราะกับเพื่อน เช่นเดียวกับสมองที่ต้องใช้เวลาที่จะเติบโตและซึมซับสภาพแวดล้อมอย่างค่อยเป็นค่อยไป บทความนี้ขอทิ้งท้ายด้วยคำพูดหนึ่งของคริสตากิสที่ว่า

“เราต้องเข้าใจว่าเด็กก็คือเด็ก เขาไม่ใช่ผู้ใหญ่ในร่างย่อส่วน”

Source: .

The Potential