📒
Knowledge-Base
  • Knowledge Base
  • Tutorials
    • Python
      • Introduction
      • Important basic syntax
      • Awesome Python
      • Python 101
      • Python Cheat sheet
      • โครงสร้างของภาษา
      • Library & Package
      • Variable & Data Types
      • Lists
      • Dictionary
      • Function
      • Built-in Function
        • enumerate()
      • Modules
      • Classes & Objects
      • Inheritance
      • Date & Time
      • การใช้งาน Virtualenv
    • Pandas
      • Learning Pandas Second Edition
        • 2. Running with pandas
        • 3. Data with the Series
        • 4. Create DataFrame
        • 5. Manipulating DataFrame Structure
  • e-Book
    • Tech
      • Automate the Boring Stuff
      • A Whirlwind Tour of Python
  • Innovation & Tech
    • Python
    • Pandas
      • 10 Pandas tips
    • Web Scraping
      • Web Scraping 101
      • Requests and BeautifulSoup
  • Industry
    • 20 แนวคิดขายของออนไลน์
    • แผนระยะยาวของ Toyota
    • โลกหลังยุคโลกาภิวัฒน์
  • Opinion
    • บรรยง พงษ์พานิช: กับดักรัฐราชการ 4.0
    • ปัญญาภิญโญ ณ Wongnai WeShare
    • ประเทศไทยในความคิด ความคิดในประเทศไทย
    • การสถาปนา ‘รัฐบรรษัทอำนาจนิยม’ ในสังคมไทย
  • People
    • “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”
    • โซเชียลมีเดีย ในมุมมองของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
  • Parent
    • ADULTIFICTION
    • ความฉลาดสร้างได้
    • การเรียนรู้ของลูกในวันนี้
    • CODING คืออะไร
    • สอน CODING อย่างไรให้ง่าย
    • 8 ข้อครูควรรู้ เมื่อจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
  • Lift
    • คุณรู้สึกว่า โลกทุกวันนี้หมุนเร็วและแคบลงหรือเปล่า?
    • ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้าง
    • กฎ 40% ของหน่วย SEAL
    • e-Book
      • Sapiens – A Brief History of Humankind
        • [สรุป] โฮโม เซเปียนส์ สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่
        • ตอนที่ 1- กำเนิด Homo Sapiens
        • ตอนที่ 2 – สิ่งที่ทำให้เราครองโลก
        • ตอนที่ 3 – ยุคแห่งการล่าสัตว์เก็บพืชผล
        • ตอนที่ 4 – การหลอกลวงครั้งยิ่งใหญ่
        • ตอนที่ 5 – คุกที่มองไม่เห็น
        • ตอนที่ 6 – กำเนิดภาษาเขียน
        • ตอนที่ 7 – ความเหลื่อมล้ำ
        • ตอนที่ 8 – โลกที่ถูกหลอมรวม
        • ตอนที่ 9 – มนตราของเงินตรา
        • ตอนที่ 10 – จักรวรรดิ
        • ตอนที่ 11 – บทบาทของศาสนา
        • ตอนที่ 12 – ศาสนาไร้พระเจ้า
        • ตอนที่ 13 – ยุคแห่งความไม่รู้
        • ตอนที่ 14 – 500 ปีแห่งความก้าวหน้า
        • ตอนที่ 15 – เมื่อยุโรปครองโลก
        • ตอนที่ 16 – สวัสดีทุนนิยม
        • ตอนที่ 17 – จานอลูมิเนียมของนโปเลียน
        • ตอนที่ 18 – ครอบครัวล่มสลาย
        • ตอนที่ 19 – สุขสมบ่มิสม
        • ตอนที่ 20 – อวสาน Sapiens
      • Homo Deus
        • [สรุปหนังสือ] Homo Deus
        • ตอนที่ 1: สามวาระใหม่แห่งอนาคต
        • ตอนที่ 2: คำสาปเรื่องดีอุส
        • ตอนที่ 3: เซเปียนส์ครองโลกได้อย่างไร
        • ตอนที่ 4: พลังของจิตวิสัยร่วม
        • ตอนที่ 5: ข้อตกลงเรื่องความทันสมัยกับเทวทัณฑ์
        • ตอนที่ 6: ปลายทางของการปฏิวัติมนุษย์นิยมคืออภิมนุษย์
        • ตอนที่ 7: ไม่มีทั้งเจตจำนงเสรีและวิญญาณในโลกของข้อมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 8: เซเปียนส์กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
        • ตอนที่ 9: มิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคขัอมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 10: พลังกุณฑาลินี คือเส้นทางสู่ด้านสว่างของ Homo Deus
        • ตอนที่ 11: ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง​(Theory​ of​ Everything)​ของลัทธิข้อมูลนิยมกับ​วิถีแห่งตัวตน
        • ตอนที่ 12: เราต้องก้าวข้ามแต่หลอมรวมลัทธิข้อมูลนิยม
  • See Behind the FX rate
  • Obtaining Stock Prices
  • Monte Carlo Simulation in Finance Python Part-2
  • The Easiest Data Cleaning Method using Python & Pandas
  • How to use iloc and loc for Indexing and Slicing Pandas Dataframes
  • Converting HTML to a Jupyter Notebook
  • Top 50 Tips & Tricks
Powered by GitBook
On this page

Was this helpful?

  1. Lift
  2. e-Book
  3. Homo Deus

ตอนที่ 2: คำสาปเรื่องดีอุส

Previousตอนที่ 1: สามวาระใหม่แห่งอนาคตNextตอนที่ 3: เซเปียนส์ครองโลกได้อย่างไร

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

อ่านอนาคตของดีอุส จากอดีตของเซเปียนส์

โดย

ประโยชน์สูงสุดที่เราได้จากการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ มิใช่เอาไว้ใช้ทำนายอนาคต แต่เอาไว้เพื่อปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระก็จริง แต่เราสามารถทำนายอนาคตของดีอุสได้ จากการศึกษาอดีตของเซเปียนส์

ถ้าบรรพบุรุษของดีอุสแยกตัวออกจากบรรพบุรุษของเซเปียนส์ผ่านสุพันธุศาสตร์ (eugenics) ที่อัปเกรดมนุษย์จนมีความสามารถดุจเทพเจ้าในตำนานเทพกรีกหรือตำนานเทพฮินดู ในอนาคตอีกไม่กี่ร้อยปีข้างหน้า ดีอุสจะรู้สึกต่อเซเปียนส์และปฎิบัติต่อเซเปียนส์เช่นไร?

เราสามารถฟันธงได้ล่วงหน้าเลยว่า ดีอุสคงมองเซเปียนส์ รู้สึกต่อเซเปียนส์และปฏิบัติต่อเซเปียนส์ เหมือนอย่างที่เซเปียนส์มองลิงชิมแปนซี รู้สึกต่อชิมแปนซี และปฏิบัติต่อชิมแปนซีนั่นเอง เพราะต้องไม่ลืมว่า แค่เมื่อ 6 ล้านปีก่อน บรรพบุรุษของเซเปียนส์เพิ่งแยกขาดจากบรรพบุรุษของชิมแปนซีและวานรอื่นๆมาหมาดๆเท่านั้นเอง

ในอนาคตอันไกลสักหน่อย ในยุคที่ดีอุสครองโลก เหมือนอย่างยุคที่เซเปียนส์ครองโลกหรือยุคแอนโทรโปซีน (Anthropocene) อย่างยุคปัจจุบัน ถ้าดีอุสไม่ขจัดเซเปียนส์จนแทบหมดไปจากโลกนี้ เหมือนอย่างที่เซเปียนส์เคยกำจัด โฮโม อีเล็กตัส หรือโฮโม นีแอนเดอร์ธัลล์ไปแล้วเพื่อครองโลก ดีอุสก็อาจเอาเซเปียนส์มาเป็นสัตว์เลี้ยงของตนเพื่อใช้งานบางอย่างก็เป็นได้ เพราะที่ผ่านมาเซเปียนส์ก็เคยทำแบบนี้กับสัตว์ใหญ่อื่นๆมาแล้วเช่นกัน

ในยุคเซเปียนส์ครองโลกอย่างยุคปัจจุบัน เรามีสุนัขบ้านมากกว่า 400 ล้านตัว แต่มีหมาป่าแค่ 200,000 ตัวกระจายอยู่ทั่วโลกเท่านั้น เรามีสิงโตแค่ 40,000 ตัว เมื่อเทียบกับแมวตามบ้าน 600 ล้านตัว เรามีเพนกวิน 50 ล้านตัว แต่มีไก่ 20,000 ล้านตัว เรามีควายแอฟริกัน 900,000 ตัว แต่มีวัวเลี้ยง 1,500 ล้านตัว ความเห็นอกเห็นใจอย่างลึกซึ้งกับความโหดร้ายอย่างสุดขั้วคือ อารมณ์ความรู้สึกของเซเปียนส์ที่เด่นชัดมาก อารมณ์ความรู้สึกของดีอุสจึงไม่น่าต่างไปจากเซเปียนส์เท่าไรนัก โดยเฉพาะด้านที่โหดร้ายอย่างเลือดเย็นของเซเปียนส์ และด้านที่ฉลาดเฉลียวเพื่อบำเรอกิเลสของตนเองของเซเปียนส์

คนเราไม่ได้มีชีวิตอยู่ในยุคสมัยของตนเท่านั้น​ แต่คนเรายังพ่วงเอาประวัติศาสตร์ติดตัวไปกับตนเองด้วยเกอเธ่​ กวีชาวเยอรมันเคยกล่าวว่า "ผู้ที่ไม่สามารถเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับประวัติศาสตร์ในรอบสามพันปีได้​ ผู้นั้นจะต้องหาเช้ากินค่ำตลอดไป"

จะเป็นเรื่องน่าเศร้าเพียงไหน​หากคนเราเป็นได้แค่ "คนหาเช้ากินค่ำตลอดไป" แม้ว่าจะได้เงินเดือนที่สูงมากแค่ไหนก็ตาม​เพียงเพราะผู้นั้นไม่รู้จักรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ของตัวเองและเพียงเพราะผู้นั้นไม่สามารถเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับประวัติศาสตร์ในรอบสามพันปีหรือนานกว่านั้นได้ ในทัศนะของผม การบูรณาการตัวเองเข้ากับประวัติศาสตร์ในรอบหลายแสนปีของเซเปียนส์​ จึงเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้คนเรากลายเป็นมนุษย์ที่แท้ได้จริงและสามารถเป็นอิสระจาก "คำสาปเรื่องดีอุส"ในอนาคตได้ นี่เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้คนเราเป็นอะไรที่มากกว่า​"ลิงเปลือย" ที่อุตริ​ริใส่เสื้อผ้า​เล่นโทรศัพท์มือถือ​ เพราะไร้ความคิด​ คิดไม่เป็น​ ไม่รู้จักตนเอง​ยังไม่ตื่นรู้เพราะหาคุณค่าความหมายที่แท้จริงของชีวิตตนเองไม่เจอ

คนเราอาจมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้แค่ไม่กี่สิบปีก็จริง​ แต่ถ้าคนผู้นั้นสามารถเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของเซเปียนส์นับแสนปี​เข้ากับประวัติศาสตร์แห่งจิตใจของผู้นั้นจนเป็นหนึ่งเดียวได้ นั่นก็หมายความว่าง​คนผู้นั้นได้มีอายุเป็นแสนๆปีมาแล้ว ยิ่งถ้าคนผู้นั้นสามารถฝึกฝนตน​ บำเพ็ญเพียรทางจิต​ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับประวัติศาสตร์ของจักรวาลนับล้านๆปี​จนกระทั่งสามารถเป็นหนึ่งเดียวกับประวัติศาสตร์ของธรรมจิต​(Spirit)​ ที่เป็นมหาสุญญตาได้นั่นก็หมายความว่า คนผู้นั้นได้มีอายุยั่งยืนเทียมเท่าจักรวาลหรือฟ้าดิน

เขาคือมนุษย์ที่กลายเป็นฟ้าหรือพระเจ้า​ เขาจะเป็นทั้งมนุษย์ที่สมบูรณ์และพระเจ้าในร่างคนโดยสมบูรณ์ นี่แหละคือโลกของพระโพธิสัตว์​และเป็นวิถีของพระโพธิสัตว์ มิใช่โลกในคำสาปอย่างโลกของดีอุส

ยูวัล โนอาห์​ แฮรารี​ ผู้เขียนหนังสือ​ Sapiens : A Brief History of​ ​Humankind (2014) อันโด่งดังกล่าวว่า​ เซเปียนส์เป็นเรื่องราวของสัตว์ที่กลายเป็น​"พระเจ้า" ผมจะลองเล่าเรื่องราวของเซเปียนส์​จากมุมมองของจิตวิวัฒน์​เพื่อเสริมต่อสิ่งที่ขาดหายไปในหนังสือเล่มนี้ของยูวัล​ที่นำเสนอโดยใช้มุมมองของวัตถุนิยมประวัติศาสตร์เชิงบูรณาการเป็นหลัก​ (แต่ไม่ใช่แบบลัทธิมาร์กซ์ที่หมกมุ่นแต่เรื่องการต่อสู้ทางชนชั้น) เอกภพของเราเกิดขึ้นเมื่อ​ 13,500 ล้านปีที่แล้วจากปรากฏการณ์บิ๊กแบ​ง​ (เรื่องราวของฟิสิกส์) สามแสนปี​หลังเหตุการณ์บิ๊กแบ​ง​ สสารและพลังงานเริ่มรวมตัวกันเป็นโครงสร้างเชิงซ้อนที่เรียกว่า​อะตอม​ ซึ่งรวมตัวกันเป็นโมเลกุล​ (เรื่องราวของเคมี) 3,800 ล้านปีที่แล้ว​บนโลกใบนี้​ โมเลกุลได้รวมตัวกันก่อรูปเป็นโครงสร้างที่พิเศษและซับซ้อนเรียกว่า​ สิ่งมีชีวิต​ (เรื่องราวของชีววิทยา) ประมาณ​ 70,000 ปีมาแล้ว​สิ่งมีชีวิตในสปีชีส์​ โฮโมเซเปียนส์​ เริ่มก่อรูปโครงสร้างสังคมที่ประณีตมากขึ้นไปอีก​เรียกว่า​ "วัฒนธรรม" ต่อมาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของเหล่ามนุษย์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่า​ "ประวัติศาสตร์"

มนุษย์เราดำรงอยู่บนโลกนี้เป็นเวลานานก่อนที่จะเกิดประวัติศาสตร์ขึ้น​ คือ​สามารถย้อนกลับไปได้ถึง​ 2.5 ล้านปีเลยทีเดียว​ เพียงแต่ตอนนั้นมนุษย์ไม่ได้มีลักษณะอะไรที่โดดเด่นจนแตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่มีอยู่มากมายในสภาพแวดล้อมเดียวกันมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์​ เป็นเพียงสัตว์ที่ไม่ได้สลักสำคัญ​และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากไปกว่าลิงกอริลลาเลย

นักชีววิทยาแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นสปีชีส์​โดยที่สปีชีส์ต่างๆจะรวมกันอยู่ภายใต้​"สกุล" และกลุ่มต่างๆของสกุลจะจัดอยู่ใน​"วงศ์" ถ้ากล่าวตามนี้​ เซเปียนส์ก็เป็นแค่สมาชิกของวงศ์หนึ่งในอาณาจักรสัตว์เช่นกัน​ หาใช่​"สัตว์ประเสริฐ" ตั้งแต่แรกกำเนิดไม่ ตัวตนที่แท้จริงทางชีววิทยาของ​เซเปียนส์หรือของคนเราคือสัตว์ที่เป็นสมาชิกของวงศ์ที่เรียกว่า​วานรยักษ์​ (great apes)​ ญาติใกล้ชิดที่สุดของเราที่ยังมีชีวิตอยู่​ได้แก่​ ชิมแปนซี​ กอริลลา​ และอุรังอุตัง​ โดยที่ชิมแปนซีมีความใกล้ชิดกับเรามากที่สุด แค่ราว ๆ​ 6​ ล้านปีก่อนเท่านั้นเองที่บรรพบุรุษของพวกเรา​แยกขาดจากบรรพบุรุษของชิมแปนซีและวานรอื่น ๆ เท่านั้นเอง

ดร. สุวินัย ภรณวลัย