📒
Knowledge-Base
  • Knowledge Base
  • Tutorials
    • Python
      • Introduction
      • Important basic syntax
      • Awesome Python
      • Python 101
      • Python Cheat sheet
      • โครงสร้างของภาษา
      • Library & Package
      • Variable & Data Types
      • Lists
      • Dictionary
      • Function
      • Built-in Function
        • enumerate()
      • Modules
      • Classes & Objects
      • Inheritance
      • Date & Time
      • การใช้งาน Virtualenv
    • Pandas
      • Learning Pandas Second Edition
        • 2. Running with pandas
        • 3. Data with the Series
        • 4. Create DataFrame
        • 5. Manipulating DataFrame Structure
  • e-Book
    • Tech
      • Automate the Boring Stuff
      • A Whirlwind Tour of Python
  • Innovation & Tech
    • Python
    • Pandas
      • 10 Pandas tips
    • Web Scraping
      • Web Scraping 101
      • Requests and BeautifulSoup
  • Industry
    • 20 แนวคิดขายของออนไลน์
    • แผนระยะยาวของ Toyota
    • โลกหลังยุคโลกาภิวัฒน์
  • Opinion
    • บรรยง พงษ์พานิช: กับดักรัฐราชการ 4.0
    • ปัญญาภิญโญ ณ Wongnai WeShare
    • ประเทศไทยในความคิด ความคิดในประเทศไทย
    • การสถาปนา ‘รัฐบรรษัทอำนาจนิยม’ ในสังคมไทย
  • People
    • “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”
    • โซเชียลมีเดีย ในมุมมองของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
  • Parent
    • ADULTIFICTION
    • ความฉลาดสร้างได้
    • การเรียนรู้ของลูกในวันนี้
    • CODING คืออะไร
    • สอน CODING อย่างไรให้ง่าย
    • 8 ข้อครูควรรู้ เมื่อจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
  • Lift
    • คุณรู้สึกว่า โลกทุกวันนี้หมุนเร็วและแคบลงหรือเปล่า?
    • ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้าง
    • กฎ 40% ของหน่วย SEAL
    • e-Book
      • Sapiens – A Brief History of Humankind
        • [สรุป] โฮโม เซเปียนส์ สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่
        • ตอนที่ 1- กำเนิด Homo Sapiens
        • ตอนที่ 2 – สิ่งที่ทำให้เราครองโลก
        • ตอนที่ 3 – ยุคแห่งการล่าสัตว์เก็บพืชผล
        • ตอนที่ 4 – การหลอกลวงครั้งยิ่งใหญ่
        • ตอนที่ 5 – คุกที่มองไม่เห็น
        • ตอนที่ 6 – กำเนิดภาษาเขียน
        • ตอนที่ 7 – ความเหลื่อมล้ำ
        • ตอนที่ 8 – โลกที่ถูกหลอมรวม
        • ตอนที่ 9 – มนตราของเงินตรา
        • ตอนที่ 10 – จักรวรรดิ
        • ตอนที่ 11 – บทบาทของศาสนา
        • ตอนที่ 12 – ศาสนาไร้พระเจ้า
        • ตอนที่ 13 – ยุคแห่งความไม่รู้
        • ตอนที่ 14 – 500 ปีแห่งความก้าวหน้า
        • ตอนที่ 15 – เมื่อยุโรปครองโลก
        • ตอนที่ 16 – สวัสดีทุนนิยม
        • ตอนที่ 17 – จานอลูมิเนียมของนโปเลียน
        • ตอนที่ 18 – ครอบครัวล่มสลาย
        • ตอนที่ 19 – สุขสมบ่มิสม
        • ตอนที่ 20 – อวสาน Sapiens
      • Homo Deus
        • [สรุปหนังสือ] Homo Deus
        • ตอนที่ 1: สามวาระใหม่แห่งอนาคต
        • ตอนที่ 2: คำสาปเรื่องดีอุส
        • ตอนที่ 3: เซเปียนส์ครองโลกได้อย่างไร
        • ตอนที่ 4: พลังของจิตวิสัยร่วม
        • ตอนที่ 5: ข้อตกลงเรื่องความทันสมัยกับเทวทัณฑ์
        • ตอนที่ 6: ปลายทางของการปฏิวัติมนุษย์นิยมคืออภิมนุษย์
        • ตอนที่ 7: ไม่มีทั้งเจตจำนงเสรีและวิญญาณในโลกของข้อมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 8: เซเปียนส์กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
        • ตอนที่ 9: มิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคขัอมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 10: พลังกุณฑาลินี คือเส้นทางสู่ด้านสว่างของ Homo Deus
        • ตอนที่ 11: ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง​(Theory​ of​ Everything)​ของลัทธิข้อมูลนิยมกับ​วิถีแห่งตัวตน
        • ตอนที่ 12: เราต้องก้าวข้ามแต่หลอมรวมลัทธิข้อมูลนิยม
  • See Behind the FX rate
  • Obtaining Stock Prices
  • Monte Carlo Simulation in Finance Python Part-2
  • The Easiest Data Cleaning Method using Python & Pandas
  • How to use iloc and loc for Indexing and Slicing Pandas Dataframes
  • Converting HTML to a Jupyter Notebook
  • Top 50 Tips & Tricks
Powered by GitBook
On this page

Was this helpful?

  1. Lift
  2. e-Book
  3. Homo Deus

ตอนที่ 8: เซเปียนส์กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

Previousตอนที่ 7: ไม่มีทั้งเจตจำนงเสรีและวิญญาณในโลกของข้อมูลนิยม (dataism)Nextตอนที่ 9: มิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคขัอมูลนิยม (dataism)

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

โดย

ในยุคข้อมูลนิยมที่เริ่มต้นขึ้นแล้ว มีการคุกคามในทางปฏิบัติ 3 ประการที่จะบั่นทอนความเชื่อแบบเสรีนิยมให้หมดสมัย (หน้า 398)

  1. มนุษย์จะสูญเสียความมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจและทางการทหาร เพราะระบบเศรษฐกิจในยุคข้อมูลนิยม (dataism) ที่กำลังเข้ามาแทนที่ยุคทุนนิยม (capitalism) จะเลิกเชื่อมโยงคุณค่ากับมนุษย์ส่วนใหญ่ที่เป็นมวลชน (mass) ในระบบทุนนิยมที่กำลังกลายเป็นอดีต

  2. ระบบข้อมูลนิยมจะยังค้นหาคุณค่าในมนุษย์โดยรวมได้บางส่วนอยู่ แต่มิใช่ในปัจเจกบุคคลที่ไม่เหมือนใครเหมือนในช่วงรุ่งโรจน์ของเสรีนิยมที่กำลังกลายเป็นอดีต

  3. ระบบข้อมูลนิยมจะยังคงค้นหาคุณค่าในปัจเจกบุคคลบางส่วนที่จะประกอบกันเป็น "กลุ่มอภิมนุษย์ที่อัปเกรดแล้ว" หรือโฮโมดีอุสซึ่งเป็นอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใหม่ในอนาคต มิใช่กลุ่มของประชากรจำนวนมากที่กำลังกลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์

สิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นและหลีกเลี่ยงได้ยากมาก เพราะนี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่การพัฒนาปัญญา (intelligence) กับจิต (consciousness) (ในหนังสือแปลภาษาไทยใช้คำว่า สติสัมปชัญญะ ซึ่งผมไม่เห็นด้วย) เริ่มแยกจากกันไปคนละทาง ก่อนหน้านี้ ปัญญาอันสูงยิ่งมักเดินเคียงคู่กับจิตที่พัฒนาแล้วเสมอ คือมีแต่สิ่งที่มีจิตเท่านั้นจึงสามารถทำในสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ปัญญามาก อย่างเช่นการเล่นหมากรุก ขับรถยนต์ การวิเคราะห์โรค การระบุตัวผู้ก่อการร้ายเป็นต้น

แต่บัดนี้ในยุคข้อมูลนิยม เรากำลังพัฒนา "ปัญญารูปแบบใหม่" ที่ไม่ต้องพึ่งจิตมนุษย์ แต่กลับสามารถทำงานดังที่กล่าวมาได้ดีกว่ามนุษย์เสียอีก เพราะงานดังกล่าวมีพื้นฐานอยู่ที่การรับรู้รูปแบบ และอัลกอริทึมซึ่งไม่มีจิตสำนึกสามารถรับรู้รูปแบบได้เด่นล้ำกว่ามนุษย์ที่มีจิตเสียอีก สั้น ๆ การไปสู่ปัญญายวดยิ่ง (super-intelligence) ในยุคข้อมูลนิยมต่อจากนี้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งเส้นทางที่ต้องผ่านจิตสำนึกของมนุษย์ที่เป็นชีวิตอินทรีย์อีกต่อไปแล้ว เพราะวิวัฒนาการของ "คอมพิวเตอร์อนินทรีย์"สามารถลัดข้ามเส้นทางนี้ไปเลย โดยหันไปสร้างเส้นทางใหม่ที่แตกต่าง (จักรกลเรียนรู้ด้วยตนเองหรือ machine learning) และเร็วกว่ามากไปสู่ปัญญายวดยิ่ง

เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเห็นได้ชัดว่าคำถามที่สำคัญที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ต่อจากนี้คือ "จะทำอย่างไรดีกับคนที่มีมากเกินไปและกลายเป็นชนชั้นไร้ประโยชน์ (the useless class) ทางเศรษฐกิจ? จะเอามนุษย์ที่มีจิตไปทำอะไร เมื่อเรามีอัลกอริทึมที่ไม่มีจิตแต่มีปัญญาสูงยิ่งซึ่งสามารถทำได้ดีกว่าคนเกือบทุกอย่าง ?" (หน้า 411) วิทยาศาสตร์ชีวภาพในปัจจุบันได้หักล้างทำลาย ความเชื่อผิดๆที่หลงคิดว่าเซเปียนส์เป็น "สัตว์ประเสริฐ" เหนือกว่าอัลกอริทึมที่ไร้จิตเพราะตัวเองมีจิต ด้วยหลักการง่ายๆ 3 ประการดังต่อไปนี้

  1. สิ่งมีชีวิตก็เป็นอัลกอริทึม สัตว์ทุกชนิดรวมถึงเซเปียนส์คือการรวมตัวของอัลกอริทึมอินทรีย์ที่ได้รับอิทธิพลจากการคัดสรรตามธรรมชาติตลอดวิวัฒนาการหลายล้านปี

  2. การคำนวณของอัลกอริทึมมิได้ขึ้นกับสสารที่ใช้สร้างเครื่องคำนวณ

  3. จึงไม่มีเหตุผลที่จะคิดว่าอัลกอริทึมอินทรีย์สามารถทำในสิ่งที่อัลกอริทึมอนินทรีย์ไม่มีวันทำตามได้ ตราบใดที่การคำนวณได้ผล จะสำคัญตรงไหนว่า อัลกอริทึมนั้นเป็นคาร์บอน (อินทรีย์)หรือซิลิคอน(อนินทรีย์) ?

มาถึงตรงนี้ ไม่ทราบว่าคุณเห็นเหมือนผมหรือไม่ว่า หลักคิดแบบข้อมูลนิยม เป็นวิธีคิดแบบลดทอนนิยม (reductionism) ที่สุดโต่งประเภทหนึ่ง (แต่ทรงพลังยิ่ง) ที่ลดทอนชีวิตเป็นแค่อัลกอริทึมเท่านั้น โดยที่ชีวิตเป็นแค่การประมวลผลข้อมูลเท่านั้น ปัญหาเชิงปรัชญาที่เป็นจุดอ่อนที่ใหญ่ที่สุดของพวกลัทธิข้อมูลนิยม คือการไม่เห็นคุณค่าของจิต รวมทั้งให้คุณค่าแก่ปัญญาอย่างเดียวเท่านั้น การไม่เข้าใจเรื่องจิต ไม่ยอมรับคุณค่าและความหมายแห่งการดำรงอยู่ของจิต คือข่าวร้ายที่เป็นคำสาปใหม่ในยุคข้อมูลนิยมที่จะครองโลกในไม่ช้านี้

บทสรุปของผมซึ่งต่างจากพวกนักวิทยศาสตร์ชีวภาพและพวกข้อมูลนิยม รวมทั้งพวกวัตถุนิยมประวัติศาตร์ คือ คนเราต้องแยกการพัฒนาจิต (consciousness) ออกจากการพัฒนาปัญญา(intelligence) และทุ่มเทชีวิตให้กับการพัฒนาจิต ยกระดับจิตเป็นหลัก มิใช่ปัญญาซึ่งต่อไปอัลกอริทึมอนินทรีย์จะทำได้ดีกว่าคนแน่ ๆ ในไม่ช้านี้

ดร. สุวินัย ภรณวลัย