📒
Knowledge-Base
  • Knowledge Base
  • Tutorials
    • Python
      • Introduction
      • Important basic syntax
      • Awesome Python
      • Python 101
      • Python Cheat sheet
      • โครงสร้างของภาษา
      • Library & Package
      • Variable & Data Types
      • Lists
      • Dictionary
      • Function
      • Built-in Function
        • enumerate()
      • Modules
      • Classes & Objects
      • Inheritance
      • Date & Time
      • การใช้งาน Virtualenv
    • Pandas
      • Learning Pandas Second Edition
        • 2. Running with pandas
        • 3. Data with the Series
        • 4. Create DataFrame
        • 5. Manipulating DataFrame Structure
  • e-Book
    • Tech
      • Automate the Boring Stuff
      • A Whirlwind Tour of Python
  • Innovation & Tech
    • Python
    • Pandas
      • 10 Pandas tips
    • Web Scraping
      • Web Scraping 101
      • Requests and BeautifulSoup
  • Industry
    • 20 แนวคิดขายของออนไลน์
    • แผนระยะยาวของ Toyota
    • โลกหลังยุคโลกาภิวัฒน์
  • Opinion
    • บรรยง พงษ์พานิช: กับดักรัฐราชการ 4.0
    • ปัญญาภิญโญ ณ Wongnai WeShare
    • ประเทศไทยในความคิด ความคิดในประเทศไทย
    • การสถาปนา ‘รัฐบรรษัทอำนาจนิยม’ ในสังคมไทย
  • People
    • “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”
    • โซเชียลมีเดีย ในมุมมองของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
  • Parent
    • ADULTIFICTION
    • ความฉลาดสร้างได้
    • การเรียนรู้ของลูกในวันนี้
    • CODING คืออะไร
    • สอน CODING อย่างไรให้ง่าย
    • 8 ข้อครูควรรู้ เมื่อจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
  • Lift
    • คุณรู้สึกว่า โลกทุกวันนี้หมุนเร็วและแคบลงหรือเปล่า?
    • ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้าง
    • กฎ 40% ของหน่วย SEAL
    • e-Book
      • Sapiens – A Brief History of Humankind
        • [สรุป] โฮโม เซเปียนส์ สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่
        • ตอนที่ 1- กำเนิด Homo Sapiens
        • ตอนที่ 2 – สิ่งที่ทำให้เราครองโลก
        • ตอนที่ 3 – ยุคแห่งการล่าสัตว์เก็บพืชผล
        • ตอนที่ 4 – การหลอกลวงครั้งยิ่งใหญ่
        • ตอนที่ 5 – คุกที่มองไม่เห็น
        • ตอนที่ 6 – กำเนิดภาษาเขียน
        • ตอนที่ 7 – ความเหลื่อมล้ำ
        • ตอนที่ 8 – โลกที่ถูกหลอมรวม
        • ตอนที่ 9 – มนตราของเงินตรา
        • ตอนที่ 10 – จักรวรรดิ
        • ตอนที่ 11 – บทบาทของศาสนา
        • ตอนที่ 12 – ศาสนาไร้พระเจ้า
        • ตอนที่ 13 – ยุคแห่งความไม่รู้
        • ตอนที่ 14 – 500 ปีแห่งความก้าวหน้า
        • ตอนที่ 15 – เมื่อยุโรปครองโลก
        • ตอนที่ 16 – สวัสดีทุนนิยม
        • ตอนที่ 17 – จานอลูมิเนียมของนโปเลียน
        • ตอนที่ 18 – ครอบครัวล่มสลาย
        • ตอนที่ 19 – สุขสมบ่มิสม
        • ตอนที่ 20 – อวสาน Sapiens
      • Homo Deus
        • [สรุปหนังสือ] Homo Deus
        • ตอนที่ 1: สามวาระใหม่แห่งอนาคต
        • ตอนที่ 2: คำสาปเรื่องดีอุส
        • ตอนที่ 3: เซเปียนส์ครองโลกได้อย่างไร
        • ตอนที่ 4: พลังของจิตวิสัยร่วม
        • ตอนที่ 5: ข้อตกลงเรื่องความทันสมัยกับเทวทัณฑ์
        • ตอนที่ 6: ปลายทางของการปฏิวัติมนุษย์นิยมคืออภิมนุษย์
        • ตอนที่ 7: ไม่มีทั้งเจตจำนงเสรีและวิญญาณในโลกของข้อมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 8: เซเปียนส์กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
        • ตอนที่ 9: มิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคขัอมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 10: พลังกุณฑาลินี คือเส้นทางสู่ด้านสว่างของ Homo Deus
        • ตอนที่ 11: ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง​(Theory​ of​ Everything)​ของลัทธิข้อมูลนิยมกับ​วิถีแห่งตัวตน
        • ตอนที่ 12: เราต้องก้าวข้ามแต่หลอมรวมลัทธิข้อมูลนิยม
  • See Behind the FX rate
  • Obtaining Stock Prices
  • Monte Carlo Simulation in Finance Python Part-2
  • The Easiest Data Cleaning Method using Python & Pandas
  • How to use iloc and loc for Indexing and Slicing Pandas Dataframes
  • Converting HTML to a Jupyter Notebook
  • Top 50 Tips & Tricks
Powered by GitBook
On this page

Was this helpful?

  1. Lift
  2. e-Book

Homo Deus

Previousตอนที่ 20 – อวสาน SapiensNext[สรุปหนังสือ] Homo Deus

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

[Review] Homo Deus : A Brief History of Tomorrow

enter image description here

Homo Deus : A Brief History of Tomorrow (2016)

by Yuval Noah Harari

หลังจากประสบความสำเร็จอย่างยิ่งจากการเขียนหนังสือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเล่มแรกในปี 2011 คือ Sapiens : A Brief History of Humankind เล่มที่สอง Homo Deus : A Brief History of Tomorrow ก็ออกวางแผงตามมาในปี 2015 หนังสือทั้งสองเล่มทำให้ Yuval Noah Harari ผู้เขียน มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก Harari เป็นนักวิชาการประวัติศาสตร์สัญชาติอิสราเอล วัย 40 ปี ผู้สนใจการปฏิบัติธรรม เขานั่งวิปัสสนาวันละ 2 ชั่วโมง และลาไปปฏิบัติธรรมไม่ต่ำกว่าปีละ 30 วัน

​หนังสือ Sapiens อธิบายว่าอะไรที่ทำให้ Homo sapiens หรือมนุษย์เผ่าพันธุ์เราประสบความสำเร็จบนโลกใบนี้ ทั้งที่ช่วงก่อนหน้า 70,000 ปีก่อน บรรพบุรุษของเราเป็นสัตว์ที่ “กระจอก” มาก กล่าวคือแทบไม่มีผลกระทบต่อสิ่งใดเลย อาศัยอยู่ในหลืบมุมของทวีปแอฟริกา แต่ในช่วงเวลา 70,000 ปีหลังที่ผ่านมา Homo sapiens ได้กระจายไปทวีปอื่นๆ และครองโลกใบนี้ในที่สุด ​Harari พบว่าเหตุที่ Homo sapiens ผงาดขึ้นมาได้ก็เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวในโลกที่สามารถเชื่อในสิ่งซึ่งอยู่ในจินตนาการของเรา ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเรื่องพระเจ้า ความเป็นรัฐ สิทธิมนุษยชน ฯลฯ ตลอดจน “นิยาย” ที่ช่วยกันแต่งขึ้นมา และเชื่อกันเป็นตุเป็นตะ

นอกจากความสามารถที่จะเชื่อแล้ว มนุษย์ยังมีความสามารถพิเศษที่ไม่มีใครเหมือน นั่นคือ การใช้ความเชื่อและ “นิยาย” เหล่านี้มาทำให้สมาชิกเป็นหนึ่งเดียวกัน ตลอดจนสามารถจัดการกับคนจำนวนมากได้โดยได้รับความร่วมมือจากสมาชิกอีกด้วย ​มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มีจินตนาการ สามารถแต่งเรื่องขึ้นในสมอง และเชื่อเรื่องแต่งเหล่านั้นได้ เช่น หากทำชั่วจะตายไปแล้วตกนรก ไม่ว่านรกมีจริงหรือไม่ก็ตามแต่ ตราบที่มีคนเชื่อว่าจริง ก็สามารถนำมาใช้กำกับพฤติกรรมมนุษย์ได้ ในขณะที่ลิงชิมแปนซี ญาติที่ใกล้ชิดเราที่สุด ไม่สามารถคิดหรือจินตนาการอย่างนั้นได้ ​ความสามารถในการจัดการของมนุษย์ อันมีพื้นฐานมาจากการเชื่อ “นิยาย” เหล่านี้ร่วมกัน จนมนุษย์ยอมรับพระเจ้า ผีสางเทวดา กฎหมาย กฎกติกา ผู้นำ ฯลฯ ทำให้เราสามารถปราบคู่แข่งคือสมาชิกสกุล Homo ทั้งหลาย ตลอดจนสัตว์ร้าย และเอาชนะภัยพิบัติธรรมชาติ จนทำให้เราอยู่รอดมาได้อย่างดียิ่ง

​เมื่อ Harari อธิบายอดีตแล้วในเล่มแรก จึงพรรณนาความต่อเรื่องอนาคตของมนุษยชาติในเล่มสอง Homo Deus ซึ่งแปลว่า human god ​มนุษยชาติคุ้นเคยกับความก้าวหน้าและนวัตกรรมมาเป็นลำดับ จนในปัจจุบันสามารถเอาชนะศัตรูสำคัญ นั่นคือ การขาดแคลนอาหาร (famine) และโรคระบาด ซึ่งเป็นสองสาเหตุแห่งความตายที่อันตรายที่สุดในอดีต ในประเทศฝรั่งเศสช่วงปี ค.ศ. 1692-1694 มีคนตายจากการขาดอาหาร 2.5 ล้านคน หรือร้อยละ 15 ของประชากร หรือการแพร่ระบาดของกาฬโรค (Black Death) ในยุโรปและเอเชียในทศวรรษ 1330 ฆ่าคนไป 75-200 ล้านคน หรือประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรโลก

​วิกฤต Ebola ที่น่ากลัวเมื่อไม่นานมานี้ มนุษย์ก็ควบคุมได้จนมีการตายเพียง 10,000 คน สาเหตุการตายของมนุษย์ในปัจจุบันมาจากความอุดมสมบูรณ์ ในปี 2012 มีคนตายจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน ขณะที่ในปีเดียวกัน มีคนตายจากสงครามทั่วโลก 120,000 คน มนุษย์มาไกลจนการแพทย์ในศตวรรษใหม่ทำให้อายุคาดเฉลี่ย (life expectancy) เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ​มนุษย์เป็นสัตว์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในการครองโลก คำถามสำคัญคือเราจะสามารถดำรงสถานะเช่นนี้อยู่ได้ตลอดไปหรือไม่

​ในขั้นพื้นฐาน ถึงแม้มนุษย์จะก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี แต่ก็ยังต้องการศาสนา เพราะวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบคำถามได้ทุกข้อ ตัวอย่างเช่น จะสร้างเขื่อนเพื่อประโยชน์ของคนนับแสน แต่จะทำให้บางครอบครัวในบริเวณนั้นต้องย้ายที่อยู่ วิทยาศาสตร์บอกได้ว่าจะสร้างเขื่อนนั้นอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร แต่ไม่สามารถตอบได้ว่าสมควรสร้างเขื่อนหรือไม่ หากตัดสินใจสร้างเขื่อน ครอบครัวเหล่านี้สมควรได้รับการดูแลมากน้อยเพียงใด จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ มนุษย์ต้องการ moral code หรือหลักชุดของศีลธรรม ที่มีอยู่ในศาสนา

​มนุษย์จำนวนมากในปัจจุบันไม่เชื่อว่าพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นผู้ทำให้ฝนแล้ง ขาดแคลนอาหาร หรือเกิดโรคระบาด จนต้องสวดมนต์อ้อนวอน หากเชื่อว่าเหตุการณ์เหล่านี้อธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ ดังนั้นมนุษย์จึงมีอำนาจมากขึ้น ไม่เชื่อในเรื่องเล่าที่กำหนดไว้ในหนังสือหรือคัมภีร์ แต่เชื่อว่ามนุษย์สามารถ “เขียนเรื่อง” ได้ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะจากการอาศัยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี เช่น การลงทุนด้านต่างๆ เพื่อป้องกันสภาวะขาดแคลนอาหารในอนาคต

​อย่างไรก็ดี ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่มนุษย์เคยชินและหวังพึ่งพิงนั้นต้องอาศัยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่มีวันจบสิ้น ตัวอย่างเช่น การลงทุนผลิตปุ๋ยที่ช่วยพัฒนาสังคมก็ต้องการงานวิจัย บริษัทต้องกู้เงินมาจากสถาบันการเงิน จะกู้ได้ก็ต้องอาศัยความเชื่อว่าเศรษฐกิจจะโตต่อไป ผู้คนมีอำนาจซื้อ และทำให้โครงการกู้เงินนั้นประสบผลสำเร็จ

ดังนั้น การเติบโตอย่างต่อเนื่องและการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกิดตามมานั้น จึงเป็นแหล่งเพาะอำนาจของมนุษย์สมัยใหม่ ​การมีอำนาจอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ในด้านเทคโนโลยีทำให้เกิดคำถามว่า เรากำลังมองข้ามหลายสิ่ง จนทำให้สิ่งที่มนุษย์ได้รับมาขาดความหมายหรือไม่ Harari เสนอว่า Humanism (การพิจารณาเข้าไปข้างในของตนเอง) กลายเป็น “ศาสนา” ที่ครอบงำสังคมสมัยใหม่ ในปัจจุบัน มนุษย์ใช้ประสบการณ์ชีวิตเป็นตัวนำทาง ต่างจากศาสนาในความหมายเดิมที่โยงใยกับความเชื่อและความศรัทธา

​liberalism หรือความคิดเสรีนิยม เป็นรูปแบบหนึ่งของ “ศาสนา” ที่ครอบงำ humanism ในปัจจุบัน ความคิดนี้ครอบงำโลกตั้งแต่ช่วง 1970 โดยแพร่กระจายจากตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป อเมริกาเหนือ เอเชีย ลาตินอเมริกา และลามไปถึงยุโรปตะวันออก หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991

​Harari ท้าทายว่า “ความคิดเสรีนิยม” จะไปรอดหรือไม่ในสังคมที่เทคโนโลยีก้าวหน้า โดยระบุว่า เสรีนิยมอยู่บนพื้นฐานของการให้คุณค่า ประสบการณ์ชีวิต และเสรีภาพส่วนบุคคล ตรงนี้แหละที่ ​Harari บอกว่ามันเป็นภาพลวงตา มนุษย์ชื่นชมการมีเสรีภาพในการเลือก ในการกระทำอย่างเสรีตามใจตนเอง อย่างไรก็ดี ใน neuroscience สมัยใหม่นั้น การตัดสินใจเป็นกระบวนการทางเคมีในสมอง มิได้มาจากความเป็นเสรีในการเลือกอย่างแท้จริง หากสามารถจัดการกับกระบวนการทางสมองนี้ได้ การตัดสินใจก็มิใช่ของตนเองอีกต่อไป

การทดลองกับ ‘robo-rats’ โดยฝังขั้วไฟฟ้าเข้าไปในบางส่วนของสมอง สามารถบังคับให้หนูหันซ้ายหรือขวา หรือกระโดดจากที่สูงก็ได้ โดยมิได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง มนุษย์ก็เช่นกัน จะมีการเลือกที่ไม่เสรีอย่างแท้จริงหากใช้เทคโนโลยี ดังนั้น liberalism อันน่าชื่นชมนั้นอาจถูกบั่นทอนได้ ​เทคโนโลยีที่น่ากลัวสำหรับมนุษยชาติก็คือการใช้ algorithms ในคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน (algorithms หมายถึง ลำดับก่อนหลังของแผนการกระทำทางคณิตศาสตร์เพื่อคำนวณตัวเลข เพื่อจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการใช้เหตุผลโดยอัตโนมัติ) อันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างยิ่ง การทำงานอย่างรวดเร็วของคอมพิวเตอร์ก็เกิดจากการใช้ algorithms ซึ่งทำให้สามารถจัดการกับภาระงานและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ

​หุ่นยนต์ โดรน รถยนต์ไร้คนขับ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ทุกขนาด ฯลฯ ล้วนอาศัย algorithms ทั้งสิ้น แม้แต่สาขาที่นึกไม่ถึง เช่น การสร้างรูปปั้น 3D การเขียนภาพ การแต่งเพลงที่ไพเราะ ฯลฯ ต่อไปข้างหน้าเทคโนโลยีจะตัดสินใจแทนเราได้มากยิ่งขึ้นทุกที ​ตัวอย่างเช่น ในการทดลองเมื่อปี 2011 ที่มหาวิทยาลัย Yale นักวิจัยสร้างตับอ่อนเทียมที่ผลิตอินซูลินออกมาโดยอัตโนมัติในปริมาณที่สอดคล้องกับความต้องการของร่างกาย โดยคนป่วยไม่ต้องร่วมในกระบวนการนี้เลยแม้แต่น้อย

​ในปี 2015 Youyou, Kosinski และ Stillwell ใช้ข้อมูลการกดไลค์ 300 ครั้ง ใน Facebook ของบุคคลหนึ่ง สำหรับพยากรณ์ผลของแบบทดสอบบุคลิกภาพ โดยใช้ algorithms และพบว่าแม่นยำกว่าผลจากการทำแบบทดสอบบุคลิกภาพโดยคู่ชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือแค่กดไลค์ 300 ครั้ง algorithms ก็สามารถประเมินบุคลิกภาพของบุคคลนั้นได้ดีกว่าคู่ชีวิตที่อยู่กันมาหลายปี ​คำถามที่น่ากลัวก็คือ อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อ algorithms สามารถสร้าง algorithms ด้วยตัวของมันเอง และยิ่งทำได้ดีขึ้นๆ ทุกที ?

คงเห็นแล้วว่า ​โลกของเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอย่างไม่สิ้นสุด ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอยู่บนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้า ถ้าเราเข้าใจประวัติศาสตร์ของตัวเราเองได้ดีเพียงใด เราก็พอจะอนุมานได้ดียิ่งขึ้นว่าเราจะเป็นอย่างไรในอนาคต.

Reference :

https://www.the101.world/homo-deus/