📒
Knowledge-Base
  • Knowledge Base
  • Tutorials
    • Python
      • Introduction
      • Important basic syntax
      • Awesome Python
      • Python 101
      • Python Cheat sheet
      • โครงสร้างของภาษา
      • Library & Package
      • Variable & Data Types
      • Lists
      • Dictionary
      • Function
      • Built-in Function
        • enumerate()
      • Modules
      • Classes & Objects
      • Inheritance
      • Date & Time
      • การใช้งาน Virtualenv
    • Pandas
      • Learning Pandas Second Edition
        • 2. Running with pandas
        • 3. Data with the Series
        • 4. Create DataFrame
        • 5. Manipulating DataFrame Structure
  • e-Book
    • Tech
      • Automate the Boring Stuff
      • A Whirlwind Tour of Python
  • Innovation & Tech
    • Python
    • Pandas
      • 10 Pandas tips
    • Web Scraping
      • Web Scraping 101
      • Requests and BeautifulSoup
  • Industry
    • 20 แนวคิดขายของออนไลน์
    • แผนระยะยาวของ Toyota
    • โลกหลังยุคโลกาภิวัฒน์
  • Opinion
    • บรรยง พงษ์พานิช: กับดักรัฐราชการ 4.0
    • ปัญญาภิญโญ ณ Wongnai WeShare
    • ประเทศไทยในความคิด ความคิดในประเทศไทย
    • การสถาปนา ‘รัฐบรรษัทอำนาจนิยม’ ในสังคมไทย
  • People
    • “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”
    • โซเชียลมีเดีย ในมุมมองของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
  • Parent
    • ADULTIFICTION
    • ความฉลาดสร้างได้
    • การเรียนรู้ของลูกในวันนี้
    • CODING คืออะไร
    • สอน CODING อย่างไรให้ง่าย
    • 8 ข้อครูควรรู้ เมื่อจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
  • Lift
    • คุณรู้สึกว่า โลกทุกวันนี้หมุนเร็วและแคบลงหรือเปล่า?
    • ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้าง
    • กฎ 40% ของหน่วย SEAL
    • e-Book
      • Sapiens – A Brief History of Humankind
        • [สรุป] โฮโม เซเปียนส์ สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่
        • ตอนที่ 1- กำเนิด Homo Sapiens
        • ตอนที่ 2 – สิ่งที่ทำให้เราครองโลก
        • ตอนที่ 3 – ยุคแห่งการล่าสัตว์เก็บพืชผล
        • ตอนที่ 4 – การหลอกลวงครั้งยิ่งใหญ่
        • ตอนที่ 5 – คุกที่มองไม่เห็น
        • ตอนที่ 6 – กำเนิดภาษาเขียน
        • ตอนที่ 7 – ความเหลื่อมล้ำ
        • ตอนที่ 8 – โลกที่ถูกหลอมรวม
        • ตอนที่ 9 – มนตราของเงินตรา
        • ตอนที่ 10 – จักรวรรดิ
        • ตอนที่ 11 – บทบาทของศาสนา
        • ตอนที่ 12 – ศาสนาไร้พระเจ้า
        • ตอนที่ 13 – ยุคแห่งความไม่รู้
        • ตอนที่ 14 – 500 ปีแห่งความก้าวหน้า
        • ตอนที่ 15 – เมื่อยุโรปครองโลก
        • ตอนที่ 16 – สวัสดีทุนนิยม
        • ตอนที่ 17 – จานอลูมิเนียมของนโปเลียน
        • ตอนที่ 18 – ครอบครัวล่มสลาย
        • ตอนที่ 19 – สุขสมบ่มิสม
        • ตอนที่ 20 – อวสาน Sapiens
      • Homo Deus
        • [สรุปหนังสือ] Homo Deus
        • ตอนที่ 1: สามวาระใหม่แห่งอนาคต
        • ตอนที่ 2: คำสาปเรื่องดีอุส
        • ตอนที่ 3: เซเปียนส์ครองโลกได้อย่างไร
        • ตอนที่ 4: พลังของจิตวิสัยร่วม
        • ตอนที่ 5: ข้อตกลงเรื่องความทันสมัยกับเทวทัณฑ์
        • ตอนที่ 6: ปลายทางของการปฏิวัติมนุษย์นิยมคืออภิมนุษย์
        • ตอนที่ 7: ไม่มีทั้งเจตจำนงเสรีและวิญญาณในโลกของข้อมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 8: เซเปียนส์กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
        • ตอนที่ 9: มิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคขัอมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 10: พลังกุณฑาลินี คือเส้นทางสู่ด้านสว่างของ Homo Deus
        • ตอนที่ 11: ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง​(Theory​ of​ Everything)​ของลัทธิข้อมูลนิยมกับ​วิถีแห่งตัวตน
        • ตอนที่ 12: เราต้องก้าวข้ามแต่หลอมรวมลัทธิข้อมูลนิยม
  • See Behind the FX rate
  • Obtaining Stock Prices
  • Monte Carlo Simulation in Finance Python Part-2
  • The Easiest Data Cleaning Method using Python & Pandas
  • How to use iloc and loc for Indexing and Slicing Pandas Dataframes
  • Converting HTML to a Jupyter Notebook
  • Top 50 Tips & Tricks
Powered by GitBook
On this page

Was this helpful?

  1. Lift
  2. e-Book
  3. Homo Deus

ตอนที่ 9: มิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคขัอมูลนิยม (dataism)

Previousตอนที่ 8: เซเปียนส์กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไรNextตอนที่ 10: พลังกุณฑาลินี คือเส้นทางสู่ด้านสว่างของ Homo Deus

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

โดย

ปัจจุบันยุคข้อมูลนิยมเป็นใหญ่ได้เริ่มต้นแล้ว และกำลังเข้ามาทดแทนยุคทุนนิยมเป็นใหญ่ที่ชาวโลกคุ้นเคย มนุษย์จะไม่ใช่ "ตัวตนอันมีอิสระ"(แบบเสรีนิยม)ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเรื่องเล่าที่ตัวตนประดิษฐ์ขึ้นมาเหมือนยุคก่อนๆอีกต่อไป แต่มนุษย์เซเปียนส์จะถูกกลืนจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายอัลกอริทึมระดับโลกอันมหึมาในที่สุด โดยเป็นส่วนหนึ่งที่ลดระดับความสำคัญลงเรื่อยๆในเครือข่ายระดับโลกอันมหึมานี้ (หน้า 434)

เทคโนโลยีในยุคข้อมูลนิยม ทำให้อัลกอริทึมภายนอกสามารถ "แฮกความเป็นมนุษย์" ได้ทุกคน ทำให้มันรู้จักคนผู้นั้นดีกว่าที่ผู้นั้นรู้จักตนเอง อีกไม่นานความเชื่อในแนวคิดปัจเจกบุคคลคงล่มสลาย โดยที่อำนาจจะย้ายเคลื่อนจากมนุษย์ผู้เป็นปัจเจกไปยังอัลกอริทึมที่โยงกันเป็นเครือข่าย (หน้า 424)

ในไม่ช้า มนุษย์จะยอมศิโรราบต่ออัลกอรทึม หันมามองตัวเองเป็น "จิ้งหรีด" ที่เป็นกลุ่มกลไกทางชีวเคมีที่ถูกเครือข่ายอัลกอริทึมอิเล็กทรอนิกส์คอยเฝ้ามองและชี้นำจูงจมูกอย่างต่อเนื่อง ความแปลกแยกที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ (疎外 หรือ alienation) ที่คาร์ล มาร์กซ์เคยชี้ให้เห็นตอนเขาวิเคราะห์ระบบทุนนิยม และเรียกร้องให้ทุกคนที่รู้สึกแปลกแยกที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ ลุกฮือขึ้นทำการปฏิวัติกรรมาชีพ เพื่อโค่นล้มระบบทุนนิยม จะกลายเป็นของเด็กๆน่ารักน่าคำนึงถึง เมื่อเทียบกับความแปลกแยกที่ลดทอนความเป็นมนุษย์อันเกิดจากระบบข้อมูลนิยม

เนื่องจากภายใต้ระบบข้อมูลนิยมนี้ มนุษย์เซเปียนส์ส่วนใหญ่จะถูกลดคุณค่าอย่างถึงที่สุดจนกลายเป็น "สิ่งไร้ประโยชน์" หรือสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ ส่วนคนที่ยังมีคุณค่าใช้สอยในระบบข้อมูลนิยมคือคนยอมกลายเป็นส่วนหนึ่งหรือชิ้นส่วนอินทรีย์ของเครือข่ายอัลกอริทึมอันมหึมาเท่านั้น ในยุคข้อมูลนิยม อัลกอริทึม เริ่มต้นจากเป็น "เทพพยากรณ์ผู้รอบรู้ทุกสิ่ง" (oracle) ให้คนใช้ มันเป็นประโยชน์มากและเป็นข้ารับใช้ที่ยอดเยี่ยมสำหรับมนุษย์ (ปัจจุบันยุคข้อมูลนิยมเพิ่งอยู่ในขั้นนี้) เมื่อยุคข้อมูลนิยม พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง อัลกอริทึมจะวิวัฒนาตนเองไปเป็น "ผู้แทน" ที่ช่วยตัดสินใจแทนหรือทำงานแทนมนุษย์ในขอบเขตที่กว้างขึ้นเรื่อยๆจนครอยคบุมทุกสิ่งทุกเรื่องในที่สุด สุดท้าย จะมาถึงขั้นตอนสูงสุดแห่งยุคข้อมูลนิยม เมื่ออัลกอริทึมกลายเป็น "พระเจ้า" หรือ "ผู้มีอำนาจสูงสุด" เสียเอง

ช่วงเวลาร้อยปีหรือสองร้อยสามร้อยปีหลังจากนี้ จึงมิใช่ช่วงเวลาอื่นใด แต่คือ ช่วงเวลาแห่งการพัฒนาไปสู่ขั้นตอนที่มีวุฒิภาวะมากขึ้นเรื่อยๆของระบบข้อมูลนิยมเท่านั้น เทคโนโลยีใหม่ของศตวรรษที่ 21 จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "การปฏิปักษ์ปฏิวัติมนุษย์นิยม" หรือการถอดรื้อการปฏิวัติมนุษย์นิยม ผ่านการริบยึดอำนาจไปจากมนุษย์ และมอบโอรอำนาจให้แก่อัลกอริทึมซึ่งไม่ใช่มนุษย์แทน สิ่งที่จะเกิดขึ้นในยุคข้อมูลนิยม คือปัจเจกบุคคลจะถูกบดขยี้ให้แหลกราญจากภายในเอง แทนที่จะถูกบดขยี้อย่างโหดร้ายจากภายนอก ... โรคซึมเศร้าที่แพร่กระจายในหมู่คนทุกวัยทั่วทั้งสังคม อัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการถูกฆาตกรรม คือสัญญาณที่บ่งบอกถึงการถูกบดขยี้จากภายในของปัจเจกบุคลทั้งหลายในยุคข้อมูลนิยม ... นี่แค่น้ำจิ้มเอง ความแปลกแยกที่ลดทอนความเป็นมนุษย์จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในยุคทุนนิยม

ยุคของมวลชนและยุคเพื่อมวลชนใกล้จะจบสิ้นแล้ว พร้อมๆกับการรุดหน้าแบบก้าวกระโดดของระบบข้อมูลนิยมหลังจากนี้ ภายใต้ยุคข้อมูลนิยม จะเกิดศาสนาใหม่ขึ้นที่เรียกว่า "ศาสนาข้อมูล" (data religion) ซึ่งเป็นศาสนาเทคโนโลยีแบบวัตถุนิยมสุดโต่งประเภทหนึ่ง เพราะศาสนาข้อมูลให้สัญญาแก่ผู้คนว่า จะนำพาผู้คนให้หลุดพ้นได้ด้วยอัลกอริทึม"อัปเกรดจิตใจมนุษย์" และเทคโนโลยีพันธุกรรม สเปกตรัมของสภาวะจิต (spectrum of mental state) ที่นักวิทยาศาสตร์ยุคข้อมูลนิยมใช้ในการสร้างอัลกอริทึมอัปเกรดจิตใจมนุษย์ มาจากภาคส่วนเล็กๆสองภาคส่วนเท่านั้น คือ ส่วนพร่องจากบรรทัดฐาน (sub-normaltive) และกลุ่ม WEIRD ที่มาจากคำหน้าของคำว่า Western, Educated, Industrialsed, Rich, Democratic คือใช้สภาวะจิตและระดับจิตเฉลี่ยของพลเมืองในสังคมประเทศตะวันตกเป็นข้อมูลพื้นฐานเท่านั้น (หน้า 454)

ตรงนี้แหละคือข้อจำกัดของพวกข้อมูลนิยมในการทำความเข้าใจเรื่องจิต รวมทั้งข้อจำกัดของตัวยูวัล แฮรารีผู้เขียนหนังสือ Homo Deus ด้วยทั้งๆที่ตัวเขาก็เคยเป็นศิษย์ของโกเอ็นก้า (1924-2013) ฝึกนั่งสมาธิและวิปัสสนามาถึงยี่สิบปีเต็ม แต่ก็ยังหลุดจากกรอบความคิดแบบวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ที่ตัวเขาใช้เขียนหนังสือ Homo Sapiens และ Homo Deus ไม่ได้ แนวคิดแบบวัตถุนิยมประวัติศาตร์ของพวกข้อมูลนิยม คือมิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคนี้ที่เข้าสู่ยุคข้อมูลนิยมแล้ว ถ้าเช่นนั้น สัมมาทิฐิในยุคข้อมูลนิยมควรเป็นอย่างไร ... นี่คือหัวข้อรีวิวหัวข้อสุดท้ายในข้อเขียนชุดนี้ของผม

ดร. สุวินัย ภรณวลัย