📒
Knowledge-Base
  • Knowledge Base
  • Tutorials
    • Python
      • Introduction
      • Important basic syntax
      • Awesome Python
      • Python 101
      • Python Cheat sheet
      • โครงสร้างของภาษา
      • Library & Package
      • Variable & Data Types
      • Lists
      • Dictionary
      • Function
      • Built-in Function
        • enumerate()
      • Modules
      • Classes & Objects
      • Inheritance
      • Date & Time
      • การใช้งาน Virtualenv
    • Pandas
      • Learning Pandas Second Edition
        • 2. Running with pandas
        • 3. Data with the Series
        • 4. Create DataFrame
        • 5. Manipulating DataFrame Structure
  • e-Book
    • Tech
      • Automate the Boring Stuff
      • A Whirlwind Tour of Python
  • Innovation & Tech
    • Python
    • Pandas
      • 10 Pandas tips
    • Web Scraping
      • Web Scraping 101
      • Requests and BeautifulSoup
  • Industry
    • 20 แนวคิดขายของออนไลน์
    • แผนระยะยาวของ Toyota
    • โลกหลังยุคโลกาภิวัฒน์
  • Opinion
    • บรรยง พงษ์พานิช: กับดักรัฐราชการ 4.0
    • ปัญญาภิญโญ ณ Wongnai WeShare
    • ประเทศไทยในความคิด ความคิดในประเทศไทย
    • การสถาปนา ‘รัฐบรรษัทอำนาจนิยม’ ในสังคมไทย
  • People
    • “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”
    • โซเชียลมีเดีย ในมุมมองของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
  • Parent
    • ADULTIFICTION
    • ความฉลาดสร้างได้
    • การเรียนรู้ของลูกในวันนี้
    • CODING คืออะไร
    • สอน CODING อย่างไรให้ง่าย
    • 8 ข้อครูควรรู้ เมื่อจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
  • Lift
    • คุณรู้สึกว่า โลกทุกวันนี้หมุนเร็วและแคบลงหรือเปล่า?
    • ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้าง
    • กฎ 40% ของหน่วย SEAL
    • e-Book
      • Sapiens – A Brief History of Humankind
        • [สรุป] โฮโม เซเปียนส์ สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่
        • ตอนที่ 1- กำเนิด Homo Sapiens
        • ตอนที่ 2 – สิ่งที่ทำให้เราครองโลก
        • ตอนที่ 3 – ยุคแห่งการล่าสัตว์เก็บพืชผล
        • ตอนที่ 4 – การหลอกลวงครั้งยิ่งใหญ่
        • ตอนที่ 5 – คุกที่มองไม่เห็น
        • ตอนที่ 6 – กำเนิดภาษาเขียน
        • ตอนที่ 7 – ความเหลื่อมล้ำ
        • ตอนที่ 8 – โลกที่ถูกหลอมรวม
        • ตอนที่ 9 – มนตราของเงินตรา
        • ตอนที่ 10 – จักรวรรดิ
        • ตอนที่ 11 – บทบาทของศาสนา
        • ตอนที่ 12 – ศาสนาไร้พระเจ้า
        • ตอนที่ 13 – ยุคแห่งความไม่รู้
        • ตอนที่ 14 – 500 ปีแห่งความก้าวหน้า
        • ตอนที่ 15 – เมื่อยุโรปครองโลก
        • ตอนที่ 16 – สวัสดีทุนนิยม
        • ตอนที่ 17 – จานอลูมิเนียมของนโปเลียน
        • ตอนที่ 18 – ครอบครัวล่มสลาย
        • ตอนที่ 19 – สุขสมบ่มิสม
        • ตอนที่ 20 – อวสาน Sapiens
      • Homo Deus
        • [สรุปหนังสือ] Homo Deus
        • ตอนที่ 1: สามวาระใหม่แห่งอนาคต
        • ตอนที่ 2: คำสาปเรื่องดีอุส
        • ตอนที่ 3: เซเปียนส์ครองโลกได้อย่างไร
        • ตอนที่ 4: พลังของจิตวิสัยร่วม
        • ตอนที่ 5: ข้อตกลงเรื่องความทันสมัยกับเทวทัณฑ์
        • ตอนที่ 6: ปลายทางของการปฏิวัติมนุษย์นิยมคืออภิมนุษย์
        • ตอนที่ 7: ไม่มีทั้งเจตจำนงเสรีและวิญญาณในโลกของข้อมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 8: เซเปียนส์กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
        • ตอนที่ 9: มิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคขัอมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 10: พลังกุณฑาลินี คือเส้นทางสู่ด้านสว่างของ Homo Deus
        • ตอนที่ 11: ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง​(Theory​ of​ Everything)​ของลัทธิข้อมูลนิยมกับ​วิถีแห่งตัวตน
        • ตอนที่ 12: เราต้องก้าวข้ามแต่หลอมรวมลัทธิข้อมูลนิยม
  • See Behind the FX rate
  • Obtaining Stock Prices
  • Monte Carlo Simulation in Finance Python Part-2
  • The Easiest Data Cleaning Method using Python & Pandas
  • How to use iloc and loc for Indexing and Slicing Pandas Dataframes
  • Converting HTML to a Jupyter Notebook
  • Top 50 Tips & Tricks
Powered by GitBook
On this page

Was this helpful?

  1. Lift
  2. e-Book
  3. Homo Deus

ตอนที่ 3: เซเปียนส์ครองโลกได้อย่างไร

Previousตอนที่ 2: คำสาปเรื่องดีอุสNextตอนที่ 4: พลังของจิตวิสัยร่วม

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

โดย

หากพิจารณาจากในแง่เชาว์ปัญญา​ เมื่อล้านปีก่อน​ เซเปียนส์ก็เป็นสัตว์ที่ฉลาดที่สุดในบรรดาสัตว์ต่างๆอยู่แล้ว​แถมยังเป็นแชมป์โลกในด้านการสร้าง​เครื่องมือ​อีกด้วย แต่ถึงกระนั้น​เซเปียนส์ในตอนนั้นก็ยังเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่ไม่สลักสำคัญใดๆเลย​และสร้างผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อระบบนิเวศที่ล้อมรอบตัวเองอยู่ ในตอนนั้น​ เซเปียนส์ยังขาดลักษณะประการที่สาม​ที่นอกเหนือไปจากเชาว์ปัญญาและการสร้างเครื่องมือ​เพื่อทำให้ครอบครองดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ เมื่อตรวจสอบบันทึกประวัติศาสตร์​ เรากลับไม่พบความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างเชาว์ปัญญาและความสามารถในการสร้างเครื่องมือของมนุษย์แต่ละคน​กับอำนาจของสปีขีส์ของเราโดยรวม

เมื่อ​ 20,000 ปีก่อน​โดยเฉลี่ยแล้ว​ เซเปียนส์ในสมัยนั้นมีเชาว์ปัญญาและทักษะการสร้างเครื่องมือดีกว่าเซเปียนส์เฉลี่ยในปัจจุบันเสียอีก​... ในเรื่องของการเอาชีวิตรอด แต่แม้กระนั้น​ เซเปียนส์เมื่อ​ 20,000​ ปีก่อนก็ยังอ่อนแอกว่าเซเปียนส์ในปัจจุบันมากนัก ปัจจัยประการที่สามที่ทำให้เซเปียนส์ครองโลกใบนี้ได้ คือ "ความสามารถที่จะเชื่อมต่อคนมากมายเข้าด้วยกัน" แม้สมองของคนปัจจุบันดูเหมือนจะเล็กกว่าสมองของเซเปียนส์เมื่อสองหมื่นปีที่แล้วก็ตาม มนุษย์ในทุกวันนี้เป็นใหญ่บนดาวเคราะห์ดวงนี้อย่างสมบูรณ์​ หาใช่เพราะคนแต่ละคนฉลาดเหนือกว่าสัตว์ต่างๆมาก​ หรือเพราะมีนิ้วที่แคล่วคล่องว่องไวกว่าชิมแปนซีหรือหมาป่า แต่เพราะเซเปียนส์เป็นสปีชีส์เพียงหนึ่งเดียวบนโลกนี้ที่มีความยืดหยุ่นมากพอจะร่วมมือกันแบบกลุ่มคนจำนวนมากได้ต่างหาก​ (หน้า​ 186)

มดและผึ้งเรียนรู้ที่จะร่วมมือเป็นกลุ่มก้อนนานนับล้านๆปีก่อนเซเปียนส์ก็จริง​ แต่ความร่วมมือของมดและผึ้งขาดความยืดหยุ่น​ จึงไม่สามารถออกแบบระบบสังคมขึ้นใหม่ชั่วข้ามคืน และไม่สามารถรับมือกับภัยคุกคามใหม่ๆหรือโอกาสใหม่ๆได้​ ไม่เหมือนเซเปียนส์

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่กันเป็นสังคมอย่างช้างและชิมแปนซี​ ร่วมมือกันได้อย่างยืดหยุ่นมาก​แต่พวกมันทำเช่นนั้น​ได้แค่เพียงกลุ่มเล็กๆบนความคุ้นเคยส่วนตัวเท่านั้น มีแค่เซเปียนส์เท่านั้นที่สามารถร่วมมือกันอย่างยืดหยุ่นมากๆในหมู่คนแปลกหน้าโดยไม่จำกัดจำนวน ความสามารถอย่างเป็นรูปธรรมแบบนี้เองที่ใช้อธิบายเรื่องความเป็นเจ้าผู้ครองดาวเคราะห์โลกของเซเปียนส์ได้ มิใช่คำอธิบายด้วย"วิญญาณอันเป็นนิรันดร์" ตามคำตอบแบบเอกเทวนิยมดั้งเดิม​(หน้า​ 146)

หนังสือ​ Homo​ Deus แหลมคมยิ่งเมื่อเสนอว่า การปฏิวัติเกษตรกรรม​ทำให้เกิดศาสนาแบบเทวนิยม แต่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ก็ให้กำเนิดศาสนาแบบมนุษย์นิยม​ ซึ่งมนุษย์ได้เข้ามาแทนที่เทพเจ้าทั้งหลายในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของตัวตน​ (หน้า​ 142) ในหนังสือ Homo​ Sapiens กล่าวว่าการพัฒนาประวัติศาสตร์ของเซเปียนส์มาจากการปฏิวัติ​ 3​ครั้ง​คือ

  1. " การปฏิวัติการรับรู้" ที่ทำให้เกิดภาษา

  2. "การปฏิวัติเกษตรกรรม" ที่ทำให้เกิดศาสนาแบบเทวนิยม

  3. "การปฏิวัติวิทยาศาสตร์" ที่ทำให้เกิดศาสนาแบบมนุษย์นิยม​ในรูปของอุดมการ์เสรีนิยม, คอมมิวนิสต์(สังคมนิยม)​และลัทธินาซี

จะเห็นได้ว่า​ผู้เขียน Homo​ Sapiens​ และ​ Homo​ Deus ได้ใช้มรรควิธีของ​ "ทฤษฎีวัตถุนิยมประวัติศาสตร์" แบบเดียวกับมาร์กซ์​แต่ในรูปแบบที่อัปเกรดกว่า​และตัดเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้นออกไปในฐานะที่เป็นแรงขับเคลื่อนทางประวัติศาสตร์เท่านั้นเอง

ในการปฏิวัติเกษตรกรรม​ มนุษย์ได้ ​"ปิดปาก" สัตว์และพืชในป่า​ซึ่งต่างจากยุคก่อนที่มนุษย์ยังสื่อสารกับสัตว์ป่าและพืชในป่าได้​เพราะมนุษย์ปฏิวัติความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสัตว์และพืชใหม่​โดยเอาสัตว์เลี้ยงและพืชเพาะปลูก​เข้ามาทดแทนสัตว์ป่าและพืชในป่าแทบจะสิ้นเชิง

ในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์.... มนุษย์ได้ "ปิดปาก" เทพเจ้าด้วยเช่นกัน​เหลือแค่การแสดงเดี่ยวบนเวทีของมนุษย์เท่านั้น ในอนาคตอันใกล้​ การปฏิวัติปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังเริ่มต้น​ ​... อัลกอริทึมจะเป็นฝ่าย ​"ปิดปาก" มนุษย์อย่างแน่นอน

ลัทธิอัลกอริทึมคือแนวคิดแบบทฤษฎีวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ที่สุดโต่งล่าสุด​ในการใช้อธิบายชีวิตและวิวัฒนาการของสรรพสิ่ง อารมณ์ความรู้สึกถูกลดทอนให้เป็นอัลกอริทึมทางชีวเคมี สิ่งมีชีวิตก็คืออัลกอริทึม​ (หน้า​ 122) การปฏิเสธการดำรงอยู่ของวิญญาณที่เป็นนิรันดร์แบบเอกเทวนิยมของนักวิทยาศาสตร์สายชีวภาพและสายวิวัฒนาการยังพอเข้าใจได้และยอมรับได้​ แต่การสุดโต่งจนถึงขั้นปฏิเสธการดำรงอยู่จริงของจิต​(consciousness)​ หรือจิตสำนึก​ผมว่ามากไป

เพราะคนพวกนี้มองว่า​ จิตเกิดจากปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีภายในสมองเท่านั้น​ (หน้า​155) ทฤษฎีชีววิทยาในปัจจุบันไม่มองว่าความทรงจำ​ จินตนาการ​และความคิดของคนเราอยู่เหนือเกินขอบเขตของวัตถุ​ (หน้า​ 161) ทำให้สรุปแบบรวบรัดว่า​ ชีวิตเป็นแค่เรื่องของการประมวลข้อมูลเท่านั้น ​(หน้า​ 167)

การจะได้ประโยชน์จากการอ่าน​ Homo​ Sapiens, Homo​ Deus โดยสมบูรณ์​ ​เราจะต้องรู้ทันข้อจำกัดเชิงญาณวิทยาของหนังสือเล่มนี้ที่ยึดติดอยู่กับกรอบทฤษฎีวัตถุนิยมประวัติศาสตร์​และลัทธิลดทอนนิยมเชิงชีววิทยา​ให้ได้ก่อน

ดร. สุวินัย ภรณวลัย