📒
Knowledge-Base
  • Knowledge Base
  • Tutorials
    • Python
      • Introduction
      • Important basic syntax
      • Awesome Python
      • Python 101
      • Python Cheat sheet
      • โครงสร้างของภาษา
      • Library & Package
      • Variable & Data Types
      • Lists
      • Dictionary
      • Function
      • Built-in Function
        • enumerate()
      • Modules
      • Classes & Objects
      • Inheritance
      • Date & Time
      • การใช้งาน Virtualenv
    • Pandas
      • Learning Pandas Second Edition
        • 2. Running with pandas
        • 3. Data with the Series
        • 4. Create DataFrame
        • 5. Manipulating DataFrame Structure
  • e-Book
    • Tech
      • Automate the Boring Stuff
      • A Whirlwind Tour of Python
  • Innovation & Tech
    • Python
    • Pandas
      • 10 Pandas tips
    • Web Scraping
      • Web Scraping 101
      • Requests and BeautifulSoup
  • Industry
    • 20 แนวคิดขายของออนไลน์
    • แผนระยะยาวของ Toyota
    • โลกหลังยุคโลกาภิวัฒน์
  • Opinion
    • บรรยง พงษ์พานิช: กับดักรัฐราชการ 4.0
    • ปัญญาภิญโญ ณ Wongnai WeShare
    • ประเทศไทยในความคิด ความคิดในประเทศไทย
    • การสถาปนา ‘รัฐบรรษัทอำนาจนิยม’ ในสังคมไทย
  • People
    • “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”
    • โซเชียลมีเดีย ในมุมมองของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
  • Parent
    • ADULTIFICTION
    • ความฉลาดสร้างได้
    • การเรียนรู้ของลูกในวันนี้
    • CODING คืออะไร
    • สอน CODING อย่างไรให้ง่าย
    • 8 ข้อครูควรรู้ เมื่อจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
  • Lift
    • คุณรู้สึกว่า โลกทุกวันนี้หมุนเร็วและแคบลงหรือเปล่า?
    • ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้าง
    • กฎ 40% ของหน่วย SEAL
    • e-Book
      • Sapiens – A Brief History of Humankind
        • [สรุป] โฮโม เซเปียนส์ สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่
        • ตอนที่ 1- กำเนิด Homo Sapiens
        • ตอนที่ 2 – สิ่งที่ทำให้เราครองโลก
        • ตอนที่ 3 – ยุคแห่งการล่าสัตว์เก็บพืชผล
        • ตอนที่ 4 – การหลอกลวงครั้งยิ่งใหญ่
        • ตอนที่ 5 – คุกที่มองไม่เห็น
        • ตอนที่ 6 – กำเนิดภาษาเขียน
        • ตอนที่ 7 – ความเหลื่อมล้ำ
        • ตอนที่ 8 – โลกที่ถูกหลอมรวม
        • ตอนที่ 9 – มนตราของเงินตรา
        • ตอนที่ 10 – จักรวรรดิ
        • ตอนที่ 11 – บทบาทของศาสนา
        • ตอนที่ 12 – ศาสนาไร้พระเจ้า
        • ตอนที่ 13 – ยุคแห่งความไม่รู้
        • ตอนที่ 14 – 500 ปีแห่งความก้าวหน้า
        • ตอนที่ 15 – เมื่อยุโรปครองโลก
        • ตอนที่ 16 – สวัสดีทุนนิยม
        • ตอนที่ 17 – จานอลูมิเนียมของนโปเลียน
        • ตอนที่ 18 – ครอบครัวล่มสลาย
        • ตอนที่ 19 – สุขสมบ่มิสม
        • ตอนที่ 20 – อวสาน Sapiens
      • Homo Deus
        • [สรุปหนังสือ] Homo Deus
        • ตอนที่ 1: สามวาระใหม่แห่งอนาคต
        • ตอนที่ 2: คำสาปเรื่องดีอุส
        • ตอนที่ 3: เซเปียนส์ครองโลกได้อย่างไร
        • ตอนที่ 4: พลังของจิตวิสัยร่วม
        • ตอนที่ 5: ข้อตกลงเรื่องความทันสมัยกับเทวทัณฑ์
        • ตอนที่ 6: ปลายทางของการปฏิวัติมนุษย์นิยมคืออภิมนุษย์
        • ตอนที่ 7: ไม่มีทั้งเจตจำนงเสรีและวิญญาณในโลกของข้อมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 8: เซเปียนส์กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
        • ตอนที่ 9: มิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคขัอมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 10: พลังกุณฑาลินี คือเส้นทางสู่ด้านสว่างของ Homo Deus
        • ตอนที่ 11: ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง​(Theory​ of​ Everything)​ของลัทธิข้อมูลนิยมกับ​วิถีแห่งตัวตน
        • ตอนที่ 12: เราต้องก้าวข้ามแต่หลอมรวมลัทธิข้อมูลนิยม
  • See Behind the FX rate
  • Obtaining Stock Prices
  • Monte Carlo Simulation in Finance Python Part-2
  • The Easiest Data Cleaning Method using Python & Pandas
  • How to use iloc and loc for Indexing and Slicing Pandas Dataframes
  • Converting HTML to a Jupyter Notebook
  • Top 50 Tips & Tricks
Powered by GitBook
On this page

Was this helpful?

  1. Lift
  2. e-Book
  3. Sapiens – A Brief History of Humankind

ตอนที่ 12 – ศาสนาไร้พระเจ้า

Previousตอนที่ 11 – บทบาทของศาสนาNextตอนที่ 13 – ยุคแห่งความไม่รู้

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

enter image description here

ตอนที่แล้วเราพูดถึงไปแล้ว วันนี้เราจะมาคุยถึงศาสนาที่ไม่ได้มีพระเจ้าเป็นจุดศูนย์กลางนะครับ

ศาสนาที่อ้างอิงกฎธรรมชาติ ในช่วงคริสตศตวรรษแรก ศาสนากลุ่มใหม่ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับพระเจ้าเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นเชนและพุทธในอินเดีย เต๋าและขงจื้อในจีน และสโตอิคในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน

ศาสนากลุ่มนี้เชื่อว่ากฎระเบียบที่อยู่เหนือมนุษย์ขึ้นไปนั้น (superhuman order) ไม่ได้เกิดจากความต้องการของเทพเจ้า แต่ถูกกำหนดโดยกฎของธรรมชาติ บางศาสนาเชื่อว่าเทพนั้นมีอยู่ แต่เทพเหล่านี้ก็ตกอยู่ใต้กฎธรรมชาติไม่ต่างกับมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ

ศาสนาที่สำคัญที่สุดในกลุ่มนี้คือศาสนาพุทธ

ตัวเอกของศาสนานี้ไม่ใช่เทพเจ้า แต่เป็นมนุษย์คนหนึ่งนามสิทธัตถะ โคตมะ ซึ่งเป็นเจ้าชายของแคว้นเล็กๆ แคว้นหนึ่งในแถบเทือกเขาหิมาลัย ในช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล

สิทธัตถะเห็นว่ามนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ไม่ว่าจะชายหรือหญิง เด็กหรือชรา ล้วนแล้วแต่ต้องเจอความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ต่อให้เขามีเงิน อำนาจ มีความรู้ มีลูก มีบ้าน หรือมีวัง พวกเขาก็ยังไม่เคยพอใจอยู่ดี คนจนอยากรวย คนมีเงินล้านอยากมีสองล้าน คนมีสองล้านอยากมีสิบล้าน ทุกๆ คนต่างก็โดนความกังวลตามหลอกหลอนจนถึงวันสุดท้าย ชีวิตนี้เป็นเหมือนการถีบจักรที่ไร้ความหมาย แต่เราจะออกจากวงจรนี้ได้อย่างไร?

หลังจากเรียนกับกูรูและลองผิดลองถูกอยู่นานถึง 6 ปี สิทธัตถะก็เข้าใจว่าความทุกข์ไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์ร้ายๆ ความอยุติธรรม หรือการลงโทษจากเทพเจ้า แต่เกิดจากความเคยชินในการทำงานของจิตต่างหาก (behaviour patterns of one’s own mind)

สิ่งที่สิทธัตถะค้นพบก็คือไม่ว่าจิตใจจะประสบกับอะไรก็ตาม มันก็มักจะมีปฏิกิริยาเป็นความอยาก (craving) ถ้าจิตรู้สึกไม่ดี มันก็อยากจะให้ความรู้สึกนั้นจบไปไวๆ ถ้าจิตได้ประสบกับความรู้สึกดีๆ มันก็จะอยากให้ความรู้สึกนั้นอยู่ไปนานๆ

แม้ว่าเทพเจ้าจะส่งฝนมาให้ได้ และโชคชะตาอาจนำพาชื่อเสียงเงินทองมาให้ได้ แต่ไม่มีใครมาเปลี่ยนวิธีการทำงานของจิตของเราได้ ดังนั้นแม้แต่จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ก็ยังมีชีวิตที่คลอเคลียกับความทุกข์และความกังวลและเฝ้าแต่ตามหาความสุขอยู่ร่ำไป

สิทธัตถะพบว่า คนเราสามารถออกจากวงจรนี้ได้ นั่นคือ เมื่อใดก็ตามที่จิตใจประสบกับอะไร แต่ถ้าเราสามารถมองสิ่งนั้นอย่างที่มันเป็น ความทุกข์ก็จะไม่เกิด ถ้าเรากำลังเจอความเศร้าแต่เราไม่ได้ปรารถนาให้ความเศร้านั้นหมดไปเราก็จะไม่ทุกข์ หรือถ้าเรากำลังรู้สึกมีความสุขแต่เราไม่ได้ปรารถนาให้ความสุขอยู่ต่อไปเรื่อยๆ เราก็จะสามารถดื่มด่ำกับความสุขได้โดยไม่สูญเสียความสงบในจิตใจ

แล้วเราจะฝึกซ้อมจิตใจให้ยอมรับทุกอย่างอย่างที่มันเป็นได้อย่างไร? สิทธัตถะได้พัฒนาเทคนิคการทำสมาธิที่จะฝึกให้จิตใจตั้งมั่นอยู่กับคำถามที่ว่า “ตอนนี้เรากำลังประสบกับสภาวะอะไรอยู่?” แทนที่จะสนว่า “ตอนนี้เราอยากประสบกับสภาวะใด?” (‘What am I experiencing now?’ rather than ‘What would I rather be experiencing?’)

ผู้ที่ฝึกฝนจะต้องประพฤติตนให้อยู่ในศีล 5 เพื่อให้การดับไฟแห่งความปรารถนาหรือกิเลสนี้ง่ายขึ้น เมื่อไฟราคะถูกดับมันก็จะถูกแทนที่ด้วยสภาวะแห่งความพอใจอันสมบูรณ์ที่มีชื่อว่านิพพาน คนที่ถึงนิพพานจะรับรู้สภาวะต่างๆ อย่างชัดเจนโดยปราศจากจินตนาการหรือการปรุงแต่ง และแม้ว่าเขาจะเจอสถานการณ์เลวร้ายหรือคววามเจ็บปวดใดๆ เขาก็จะไม่ทุกข์ใจอีก เพราะคนที่ไร้ซึ่งความต้องการย่อมไม่สามารถเป็นทุกข์ได้อีกแล้ว

กฎของสิทธัตถะสามารถสรุปสั้นๆ ได้ว่า ความทุกข์เกิดจากความอยาก วิธีเดียวที่จะหยุดความทุกข์ได้ก็คือต้องหยุดอยาก และวิธีเดียวที่จะหลุดพ้นจากความอยากได้ก็คือการฝึกฝนจิตใจให้เห็นสภาวะต่างๆ อย่างที่มันเป็น

ในศาสนาที่นับถือพระเจ้า คำถามสำคัญคือ “พระเจ้านั้นมีอยู่ ท่านต้องการอะไรจากเรา?”

ส่วนในศาสนาพุทธ คำถามสำคัญคือ “ความทุกข์นั้นมีอยู่ เราจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร?”

คอมมิวนิสต์ก็เป็นศาสนา? ในช่วงสองร้อยปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการเติบใหญ่ของศาสนาใหม่ๆ ที่อ้างอิงถึงกฎทางธรรมชาติมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเสรีนิยม สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ชาตินิยม ทุนนิยม หรือนาซี

หลายคนอาจจะบอกว่านี่ไม่ใช่ศาสนาซักหน่อย น่าจะเรียกว่า Ideologies หรือคตินิยมมากกว่า แต่ถ้าเรานิยามศาสนาว่ามันคือสิ่งที่กำหนดบรรทัดฐานทางศีลธรรมโดยตั้งอยู่บนความเชื่อในเรื่องระเบียบเหนือมนุษย์ (a system of human norms and values that is founded on belief in a superhuman order) ระบอบคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตก็มีความเป็นศาสนาพอๆ กับอิสลาม

คอมมิวนิสต์เชื่อในกฎสากลที่เป็นกำหนดความเป็นไปในโลกนี้คล้ายกับชาวพุทธ ชาวพุทธเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะเป็นค้นพบกฎนั้น ขณะที่ชาวคอมมิวนิสต์เชื่อว่ากฎของพวกเขาถูกค้นพบโดยคาร์ล มาร์กซ์, ฟรีดริช เองเกลส์ และวลาดิเมียร์ เลนิน

ชาวมุสลิมมีอัลกุรอ่าน ชาวคอมมิวนิสต์ก็มี Das Kapital ที่เขียนโดยคาร์ล มาร์กซ์ ชาวพุทธมีวันหยุดทางศาสนา ชาวคอมมิวนิสต์ก็มีวันแรงงาน และวันรำลึกการปฏิวัติสังคมนิยมใหญ่เดือนตุลาคม (October Revolution) คนที่เคร่งคอมมิวนิสต์ไม่สามารถนับถือศาสนาอื่นได้ และถูกคาดหวังให้เผยแพร่คำสอนของมาร์กซ์และเลนินแม้จะต้องแลกด้วยชีวิต

ผู้เขียนบอกว่าถ้าไม่สบายใจที่จะเรียกคอมมิวนิสต์ว่าศาสนา จะเรียกมันว่าคตินิยมก็ไม่เป็นไร แต่สุดท้ายมันก็เป็นเพียงแค่การเล่นคำ โดยเนื้อแท้แล้วมันก็ยังทำหน้าที่เหมือนศาสนาอยู่ดี

ศาสนามนุษยนิยม ศาสนาที่เราคุ้นเคยนั้นจะเน้นไปที่การบูชาพระเจ้า แต่ก็มีศาสนาอีกกลุ่มหนึ่งที่บูชาความเป็น Homo Sapiens โดยมองว่ามนุษย์นั้นมีธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ ในโลกนี้

ผู้เขียนพูดถึงมนุษยนิยมสามจำพวก (จริงๆ มีมากกว่านั้น)

กลุ่มแรกคือ liberal humanism (เสรีนิยม) ที่เชื่อว่ามโนธรรมและศีลธรรมถูกกำหนดโดยเสียงที่อยู่ในใจของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว และมนุษย์แต่ละคนมีสิทธิ์ที่ใครก็ไม่อาจจะมาล่วงเกินได้ สิทธิ์ที่ว่านี้ก็คือสิ่งที่เราเรียกกันว่า สิทธิมนุษยชน หรือ human rights นั่นเอง

ส่วนกลุ่มที่สองเชื่อว่าความดีสูงสุดไม่ใช่การปกป้องสิทธิส่วนบุคคล แต่เป็นการดูแลประโยชน์สุขของ Homo Sapiens ทั้งผอง กลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า socialist humanism หรือสังคมนิยม

ในขณะที่กลุ่มเสรีนิยมเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของแต่ละบุคคล กลุ่มสังคมนิยมกลับเรียกร้องความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม

ทั้ง liberal และ socialist ต่างก็มีพื้นฐานความเชื่ออยู่บนศาสนาคริสต์ที่มองว่าพระเจ้านั้นมองทุกดวงวิญญาณเท่าเทียมกันหมด

แต่ก็มีมนุษยนิยมอีกจำพวกหนึ่งที่ไม่ได้มองอย่างนั้น นั่นคือกลุ่มนาซี

กระบวนทัศน์ของนาซีตั้งอยู่บนความคิดเชิงวิวัฒนาการของดาร์วิน ที่ไม่ได้มองว่ามนุษยชาติเป็นสิ่งที่เป็นสากลและเป็นนิรันดร์ แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่กลายพันธุ์ได้ วิวัฒนาการได้ และเสื่อมลงได้

มนุษย์บางสายพันธุ์จึงอาจจะพัฒนาจนกลายเป็น superhuman ขณะที่มนุษย์บางสายพันธุ์จะเสื่อมโทรมลงไปเป็น subhuman หรือสิ่งมีชีวิตที่ต่ำกว่ามนุษย์

นาซีมองว่าชาวอารยันนั้นเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีวิวัฒนาการสูงสุดและจำเป็นต้องได้รับการปกป้อง ในขณะที่ชาวยิว ชาวโรม เกย์ และคนที่ป่วยทางจิตนั้นจะต้องถูกกักขังหรือแม้กระทั่งโดนกวาดล้าง

Homo Sapiens ทำให้ Neanderthals สูญพันธุ์ฉันใด ชาวอารยันก็เหมือน Sapiens ส่วนชาวยิวก็เป็นเหมือน Neanderthals ฉันนั้น มันเป็น survial of the fittest – คนอ่อนแอก็ต้องแพ้ไปเท่านั้นเอง

ชาวนาซีไม่ได้เกลียดมนุษยชาติ พวกเขาสู้กับพวกเสรีนิยมและคอมมิวนิสต์เพราะเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพมากมาย แต่เมื่อมองผ่านเลนส์ของวิวัฒนาการแบบดาร์วินแล้ว นาซีเชื่อว่าการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) ควรได้ทำหน้าที่ของมันเพื่อกำจัดคนอ่อนแอทิ้งและเหลือไว้แต่คนที่แข็งแกร่งเพื่อสืบทอดพันธุกรรม การที่คอมมิวนิสต์และพวกเสรีนิยมช่วยเหลือหรือปกป้องคนอ่อนแอเท่ากับเป็นการแทรกแซงกระบวนการ natural selection นี้ ทำให้คนอ่อนแอได้อยู่ต่อและสืบพันธุ์ไปเรื่อยๆ จนคนที่แข็งแกร่งเหลือสัดส่วนน้อยลง และสุดท้ายมนุษยชาติก็จะเสื่อมลงและสูญพันธุ์ในที่สุด

ในช่วงหลายสิบปีหลังฮิตเลอร์พ่ายแพ้สงคราม การเชื่อมโยงมนุษยนิยมกับวิวัฒนาการได้กลายเป็นสิ่งต้องห้าม แต่ตอนนี้มันกำลังกลับมาอินเทรนด์อีกครั้ง แม้ไม่มีใครคิดจะสังหารเผ่าพันธุ์ที่อ่อนแอกว่าอีกแล้ว แต่หลายคนเริ่มฝันหวานกับการนำเทคโนโลยีมา “อัพเกรด” มนุษย์ให้กลายเป็น superhumans ในอนาคตอันใกล้นี้

ที่มาบทความ :

https://anontawong.com
ศาสนาที่มีพระเจ้า