ตอนที่ 5 – คุกที่มองไม่เห็น
Last updated
Was this helpful?
Last updated
Was this helpful?
เมื่ออาหารมากขึ้น จำนวนประชากรก็ทวีคูณ ในเวลาหนึ่งหมื่นปี ประชากร Sapiens เพิ่มจาก 5 ล้านเป็น 250 โดยเกือบร้อยละร้อยมีอาชีพเป็นชาวนา ความตลกร้ายอย่างหนึ่งของชีวิตชาวนาก็คือ พวกเขามีเรื่องให้ต้องกังวลอยู่เสมอ ถ้าย้อนเวลากลับไปช่วงที่บรรพบุรุษพวกเขายังเป็น Hunter-Gatherer (ล่าสัตว์เก็บผลไม้ป่า) พวกเขามีชีวิตวันต่อวัน ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า แต่ก็ไม่มีอะไรให้ต้องกังวลด้วย ในขณะที่ชีวิตชาวนาแม้จะมีอาหารพอมีพอกิน แต่ก็ต้องคิดเผื่อว่าหากมีโรคระบาดหรือน้ำท่วม เรือกสวนไร่นาที่ทำเอาไว้ก็จะเสียหายและอาจต้องอดตาย คนรุ่นชาวนาถึงขยันทำงานหามรุ่งหามค่ำด้วยหวังว่าจะมีอาหารเพียงพอแม้ในยามที่ฟ้าฝนไม่เป็นใจ
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ก็คือ เมื่อสังคมขยายใหญ่ขึ้น ประชาชนจำเป็นต้องมีผู้นำที่จะช่วยปกป้องบ้านเมืองและรักษาความสงบสุขเรียบร้อย โดยสิ่งที่ผู้นำเรียกร้องเป็นการตอบแทนก็คืออาหารส่วนเกินที่ชาวนาเก็บไว้นั่นเอง ชาวนาจึงไม่เคยมีความมั่นคงทางปากท้องอย่างแท้จริงเลย เพราะทำเท่าไหร่ก็ต้องส่งส่วยไปเกือบหมด การปกครองคนนับหมื่นนับแสนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้นำจึงจำเป็นต้องสร้าง “Myth” หรือเรื่องเล่าที่คนในการปกครองนั้นเชื่อเหมือนๆ กัน โดยผู้นำยุคแรกๆ ที่เป็นกษัตริย์นั้นมักจะอ้างว่าตนเองเป็นตัวแทนของเทพเจ้าที่ถูกส่งมาดูแลราชอาณาจักรแห่งนี้ กษัตริย์ที่โด่งดังที่สุดพระองค์หนึ่งมีนามว่าพระเจ้า Hammurabi ซึ่งปกครองนครบาบิโลนเมื่อปี 1776 ก่อนคริสตกาล (บาบิโลนครอบคลุมพื้นที่เมโสโปเตเมียซึ่งเป็นพื้นที่ของอิรัก คูเวต ซีเรียและตุรกีในปัจจุบัน)
กษัตริย์องค์นี้ได้บัญญัติกฎที่ชื่อว่า Code of Hammurabi ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลก โดยกฎหมายนี้แบ่งคนในบาบิโลนออกเป็นสามระดับ คือคนชั้นสูง (superior) สามัญชน (commoners) และทาส (slaves) มาไล่ดูกฎหมายบางมาตรากันนะครับ
– ถ้าชายชั้นสูงทำให้ชายชั้นสูงอีกคนตาบอด ชายคนนั้นต้องโดนทำให้ตาบอดเช่นกัน
– ถ้าชายชั้นสูงทำให้ชายสามัญชนตาบอด ชายคนนั้นต้องจ่ายเงิน 60 ชีเกล (สกุลเงิน)
– ถ้าชายชั้นสูงทำให้ทาสตาบอด ชายคนนั้นต้องชดใช้เป็นเงินครึ่งหนึ่งของมูลค่าของทาสคนนั้น
– ถ้าชายชั้นสูงทำร้ายผู้หญิงชั้นสูงจนเธอแท้ง ชายคนนั้นต้องจ่ายเงิน 10 ชีเกล และถ้าเธอเสียชีวิต ลูกสาวของเขาต้องถูกประหาร
– ถ้าชายชั้นสูงทำร้ายผู้หญิงสามัญชนจนเธอแท้ง ชายคนนั้นต้องจ่ายเงิน 5 ชีเกล และถ้าเธอเสียชีวิต เขาต้องจ่ายเงิน 30 ชีเกล
– ถ้าชายชั้นสูงทำร้ายทาสผู้หญิงสามัญชนจนเธอแท้ง ชายคนนั้นต้องจ่ายเงิน 2 ชีเกล และถ้าเธอเสียชีวิต เขาต้องจ่ายเงิน 20 ชีเกล
สิ่งหนึ่งที่ผู้อ่านน่าจะสังเกตได้ก็คือ ผู้ชายจะมีมูลค่ามากกว่าผู้หญิง และเด็กจะไม่ถูกมองว่าเป็นคนแต่เป็นเพียงสมบัติของผู้ชายเท่านั้น (ลูกจึงถูกฆ่าเมื่อพ่อเป็นผู้ทำผิดต่อคนชั้นสูง) ในตอนท้ายของกฎหมาย กษัตริย์ฮัมมูราบียังประกาศด้วยว่า
นี่คือการตัดสินโดยเรา, กษัตริย์ฮัมมูราบีผู้ทรงธรรมและได้บัญญัติกฎเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนใช้ชีวิตอย่างถูกทำนองคลองธรรม เราคือผู้ถูกแต่งตั้งโดยเทพเจ้าเอ็นลิล (Enlil) และ เทพเจ้ามาร์ดุ๊ก (Marduk) ให้มาปกครองและดูแลมนุษยชาติ
คุณผู้อ่านเห็นด้วยกับพระเจ้าฮัมมูรัมบีหรือไม่?
ผมเชื่อว่าพวกเราส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะเราเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันและการอ้างว่าตัวเองได้รับมอบหมายจากเทพเจ้านี่ดูยังไงก็เป็นเรื่องหลอกเด็กชัด ๆ แต่ถ้าลองสำรวจความคิดตัวเองดี ๆ ก็จะพบว่า “ความเท่าเทียมกัน” ก็เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเอง ความเท่าเทียมไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง เป็นเพียงสิ่งที่เรายึดถือกันเฉยๆ หรือถ้าจะให้พูดกันแรง ๆ ก็คือคำ ๆ นี้มีสถานะไม่ต่างอะไรกับการอ้างว่าตัวเองเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากพระเจ้าเลย
กฎหมายฮัมมูรัมบีเกิดขึ้นราว 1776 ปีก่อนคริสตกาล จะเป็นความบังเอิญรึเปล่าก็ไม่รู้ ที่ 1776 หลังคริสตกาล (ค.ศ.1776) ประเทศอเมริกาประกาศอิสรภาพจากจักรวรรดิอังกฤษ โดยย่อหน้าที่โด่งดังที่สุดจากคำประกาศอิสรภาพนี้ก็คือ
We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable Rights, that among these are Life, Liberty and the pursuit of Happiness.
แต่คำว่า “เท่าเทียม” “พระเจ้า” “สิทธิ” หรือ “เสรีภาพ” ไม่ได้มีตัวตนอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์จินตนาการขึ้นมาเท่านั้น เพราะในเชิงชีววิทยาแล้วมนุษย์ทุกคนล้วนแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเพศหรือรูปร่างหน้าตา ไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ชิ้นใดที่บ่งบอกว่ามนุษย์ถูกพระเจ้าสร้างขึ้น มีแต่หลักฐานที่บ่งบอกว่ามนุษย์นั้นวิวัฒนาการมาจากลิง ในเชิงชีววิทยาคำว่า “สิทธิ” ก็ไร้ความหมายเช่นกัน นกบินได้ไม่ใช่เพราะว่ามันมีสิทธิ์ที่จะบิน แต่มันบินได้เพราะร่างกายมันวิวัฒนาการจนมันมีความสามารถที่จะบินได้ก็เท่านั้นเอง นกกระจอกเทศบินไม่ได้ก็ไม่ใช่เพราะว่ามันถูกลิดรอนสิทธิ์ใดๆ เพียงแต่การวิวัฒนาการนำพาให้มันกลายเป็นนกที่บินไม่ได้เท่านั้นเอง
เมื่อทั้ง “ความเท่าเทียมกัน” ของคนสมัยนี้ และ “การแบ่งชนชั้น” ของคนยุคพระเจ้าฮัมมูรัมบี ต่างก็มีตัวตนอยู่แต่ในจินตนาการและความเชื่อที่คนหมู่มากยึดถือ เช่นนี้แล้วเราจะบอกได้อย่างไรว่า บทบัญญัติของฮัมมูรัมบีนั้นผิด ส่วนคำประกาศอิสรภาพของอเมริกานั้นถูกต้องเที่ยงแท้? เพราะทั้งความเท่าเทียมกันและชนชั้นทางสังคมต่างก็เป็นคอนเซ็ปต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเอื้อให้สังคมนั้นมีความเป็นปกติสุขเรียบร้อยเท่านั้นเอง ผู้เขียนเรียกคอนเซ็ปต์เหล่านี้ว่า imagined order หรือกฎระเบียบที่เราจินตนาการขึ้นมาเอง
Imagined Order นี่อยู่ใกล้ตัวเราเสียจนเราลืมนึกไปเลยว่ามันเป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์จินตนาการขึ้นมา มี 3 เหตุผลที่พวกเราไม่เคยมองเห็นตัวตนที่แท้จริงของมัน
1. กฎระเบียบในจินตนาการนี้สะท้อนออกมาสู่โลกความเป็นจริง คนสมัยนี้เชื่อในเรื่องความเป็นปัจเจกบุคคล (individualism) โดยเฉพาะฝรั่งที่เชื่อว่าแต่ละคนมีสิทธิ์และมีพื้นที่ของตัวเอง เด็กแต่ละคนจึงมีห้องนอนส่วนตัวที่เขาจะตกแต่งอย่างไรก็ได้ และพ่อแม่ก็ต้องเคาะประตูขออนุญาตทุกครั้งก่อนจะเข้าห้องลูก แต่ฝรั่งสมัยก่อนไม่ได้เชื่อในเรื่อง individualism ปราสาทสมัยเก่าจึงแทบไม่เคยมีห้องนอนส่วนตัว ลูกชายวัยรุ่นของบารอนยังต้องนอนรวมกับคนอื่นๆ และคุณค่าของเขาก็ขึ้นอยู่กับว่าคนรอบข้างมองเขายังไง
2. กฎระเบียบในจินตนาการนี้เป็นตัวกำหนดความต้องการของเรา ตั้งแต่เราเกิดมา เราก็หลีกเลี่ยงไม่พ้น imagined order ที่คอยขีดเส้น (โดยที่เราไม่รู้ตัว) ว่าเราควรจะเชื่ออะไรและเราควรต้องการอะไร เช่นความเชื่อที่ว่า คนเราควรได้เดินทาง ในอดีตกาล กษัตริย์ฟาโรห์แห่งอียิปต์อาจจะใช้เงินและเวลามากมายเพื่อจะสร้างปีระมิดเอาไว้เก็บศพตัวเอง แต่ไม่มีฟาโรห์องค์ไหนสนใจจะไปชอปปิ้งที่เมืองบาบิโลน แต่คนเราสมัยนี้ยอมจ่ายเงินมากมายเพื่อจะได้เดินทาง โดยผู้เขียนบอกว่าเพราะพวกเรานั้นเชื่อใน Romantic consumerism (บริโภคนิยมโรแมนติค)
Romanticism บอกเราว่า การจะมีชีวิตที่คุ้มค่านั้น เราต้องได้เจอคนหลายๆ แบบ ได้ลองกินอาหารที่แปลกรส ได้ฟังเพลงที่แปลกหู ได้เห็นสิ่งที่แปลกตาออกไป และหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดคือเก็บกระเป๋าและออกเดินทางไปยังดินแดนที่ไม่คุ้นเคย
Consumerism บอกเราว่า การที่เราจะมีความสุขได้นั้นเราต้องซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการ โฆษณาทีวีเป็นเครื่องย้ำเตือนเราว่าความสุขอยู่ไม่ไกล แค่จ่ายเงินก็จะได้มันมา
Romantic Consumerism จึงเป็น imagined order ซึ่งเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรรมการท่องเที่ยวนั่นเอง
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่ได้ขายตั๋วเครื่องบินหรือที่พัก แต่มันขายประสบการณ์ ปารีสหรืออินเดียก็ไม่ใช่สถานที่ แต่เป็นประสบการณ์ ถ้าชีวิตคู่ของเศรษฐีคนหนึ่งกำลังสั่นคลอน เขาอาจจะแก้ปัญหาด้วยการพาภรรยาไปเที่ยวปารีส แต่เศรษฐีอียิปต์ในอดีตไม่มีวันแก้ปัญหาชีวิตคู่ด้วยการพาภรรยาไปเที่ยวบาบิโลน แต่จะแสดงความรักด้วยการสร้างปีระมิดมอบให้เธอแทน “ปีระมิด” นั้นมีอยู่ทุกยุคทุกสม้ย เพียงแต่อาจจะมีหน้าตาและรูปร่างที่แตกต่างกันไป ปีระมิดของบางคนคือบ้านตากอากาศหลังงามบนภูเขา ส่วนปีระมิดของอีกคนอาจเป็นบริษัทมูลค่าพันล้าน แต่น้อยคนนักที่จะตั้งคำถามว่าเหตุใดเราถึงอยากจะสร้างปีระมิดตั้งแต่แรก
3. ระเบียบในจินตนาการนี้เป็นอัตวิสัยร่วม สิ่งต่างๆ ในโลกใบนี้นั้นแบ่งออกได้เป็นสามจำพวก คือภววิสัย (objective) อัตวิสัย (subjective) และอัตวิสัยร่วม (inter-subjective) ภววิสัยคือสิ่งที่จะมีอยู่จริง แม้ว่าจะมีมนุษย์หรือไม่มีก็ตาม แม้ว่ามนุษย์จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ตัวอย่างของสิ่งที่เป็นภววิสัย (objective) ก็เช่นแรงโน้มถ่วง ซึ่งมีอยู่บนโลกใบนี้ก่อนที่มนุษย์จะเกิดขึ้นมา และแม้ว่ามนุษย์คนไหนจะไม่เชื่อเรื่องแรงโน้มถ่วง แต่เขาก็ยังตกอยู่ภายใต้กฎนั้นอยู่ดี
ตัวอย่างของอัตวิสัย (subjective) ก็คือสิ่งที่เห็นเฉพาะบุคคล เช่นสมัยพวกเราเด็ก เวลาเราเล่นกับตุ๊กตาเราก็จะคุยกับมันเหมือนเพื่อน ซึ่งเพื่อนคนนี้มีตัวตนอยู่แต่ในจินตนาการของเราคนเดียวเท่านั้น เมื่อเราโตขึ้น เพื่อนคนนี้ก็หายไปด้วย
จะเห็นได้ว่า เราไม่มีทางหลีกหนีออกจากระเบียบในจินตนาการหรือ imagined order ได้เลย สังคมมนุษย์ Sapiens ได้สร้าง “คุกแห่งจินตนาการ” ที่สลับซับซ้อนเกินใครจะคาดคิดขึ้นมาเสียแล้ว ตอนต่อไปเราจะได้เห็นกันว่า กฎระเบียบที่เราจินตนาการกันขึ้นมานั้นได้นำพามาซึ่งนวัตกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ขับเคลื่อนสังคมมนุษย์ไปอีกระดับ นวัตกรรมที่ว่านั้นคือ “ภาษาเขียน” ครับ
ตัวอย่างของอัตวิสัยร่วม (inter-subjective) ก็คือสิ่งที่มีตัวตนอยู่ในจินตนาการร่วมของคนหมู่มาก เช่นศาสนา พระเจ้า กฎหมาย เงิน หรือประเทศชาติ แม้ว่าจะมีคนหนึ่งคนเลิกเชื่อในพระเจ้าก็ไม่มีปัญหา เพราะยังมีคนอีกหลายล้านคนเชื่ออยู่ บริษัทเปอร์โยต์ที่ผมพูดถึงใน ก็เป็นอัตวิสัยร่วมของผู้บริหาร นักกฎหมาย และลูกค้านับแสนนับล้านคน ต่อให้วันหนึ่ง CEO ของเปอร์โยต์ตื่นมาแล้วเลิกเชื่อในความมีอยู่จริงของเปอร์โยต์ เปอร์โยต์ก็จะยังคงมีอยู่ต่อไปอยู่ดี เช่นเดียวกับเงินดอลล่าร์ สิทธิมนุษยชน หรือประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีตัวตนอยู่ในจินตนาการของคนหลายร้อยหรือหลายพันล้านคน หากเราคิดจะเปลี่ยนหรือลบล้างความเชื่อนี้ เราก็ต้องพึ่งพาองค์กรที่เกิดขึ้นจากความเชื่ออื่นอยู่ดี เช่น ถ้าเราจะลบบริษัทเปอร์โต์ออกจากสารบบ เราก็ต้องเชื่อถึงความมีอยู่จริงของกระบวนการยุติธรมของฝรั่งเศส และถ้าเราต้องการจะรื้อถอนกระบวนการยุติธรรมของฝรั่งเศส เราก็ต้องเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจยิ่งกว่านั้นเช่นความเป็นรัฐของฝรั่งเศส
ที่มา: .