📒
Knowledge-Base
  • Knowledge Base
  • Tutorials
    • Python
      • Introduction
      • Important basic syntax
      • Awesome Python
      • Python 101
      • Python Cheat sheet
      • โครงสร้างของภาษา
      • Library & Package
      • Variable & Data Types
      • Lists
      • Dictionary
      • Function
      • Built-in Function
        • enumerate()
      • Modules
      • Classes & Objects
      • Inheritance
      • Date & Time
      • การใช้งาน Virtualenv
    • Pandas
      • Learning Pandas Second Edition
        • 2. Running with pandas
        • 3. Data with the Series
        • 4. Create DataFrame
        • 5. Manipulating DataFrame Structure
  • e-Book
    • Tech
      • Automate the Boring Stuff
      • A Whirlwind Tour of Python
  • Innovation & Tech
    • Python
    • Pandas
      • 10 Pandas tips
    • Web Scraping
      • Web Scraping 101
      • Requests and BeautifulSoup
  • Industry
    • 20 แนวคิดขายของออนไลน์
    • แผนระยะยาวของ Toyota
    • โลกหลังยุคโลกาภิวัฒน์
  • Opinion
    • บรรยง พงษ์พานิช: กับดักรัฐราชการ 4.0
    • ปัญญาภิญโญ ณ Wongnai WeShare
    • ประเทศไทยในความคิด ความคิดในประเทศไทย
    • การสถาปนา ‘รัฐบรรษัทอำนาจนิยม’ ในสังคมไทย
  • People
    • “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”
    • โซเชียลมีเดีย ในมุมมองของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
  • Parent
    • ADULTIFICTION
    • ความฉลาดสร้างได้
    • การเรียนรู้ของลูกในวันนี้
    • CODING คืออะไร
    • สอน CODING อย่างไรให้ง่าย
    • 8 ข้อครูควรรู้ เมื่อจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
  • Lift
    • คุณรู้สึกว่า โลกทุกวันนี้หมุนเร็วและแคบลงหรือเปล่า?
    • ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้าง
    • กฎ 40% ของหน่วย SEAL
    • e-Book
      • Sapiens – A Brief History of Humankind
        • [สรุป] โฮโม เซเปียนส์ สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่
        • ตอนที่ 1- กำเนิด Homo Sapiens
        • ตอนที่ 2 – สิ่งที่ทำให้เราครองโลก
        • ตอนที่ 3 – ยุคแห่งการล่าสัตว์เก็บพืชผล
        • ตอนที่ 4 – การหลอกลวงครั้งยิ่งใหญ่
        • ตอนที่ 5 – คุกที่มองไม่เห็น
        • ตอนที่ 6 – กำเนิดภาษาเขียน
        • ตอนที่ 7 – ความเหลื่อมล้ำ
        • ตอนที่ 8 – โลกที่ถูกหลอมรวม
        • ตอนที่ 9 – มนตราของเงินตรา
        • ตอนที่ 10 – จักรวรรดิ
        • ตอนที่ 11 – บทบาทของศาสนา
        • ตอนที่ 12 – ศาสนาไร้พระเจ้า
        • ตอนที่ 13 – ยุคแห่งความไม่รู้
        • ตอนที่ 14 – 500 ปีแห่งความก้าวหน้า
        • ตอนที่ 15 – เมื่อยุโรปครองโลก
        • ตอนที่ 16 – สวัสดีทุนนิยม
        • ตอนที่ 17 – จานอลูมิเนียมของนโปเลียน
        • ตอนที่ 18 – ครอบครัวล่มสลาย
        • ตอนที่ 19 – สุขสมบ่มิสม
        • ตอนที่ 20 – อวสาน Sapiens
      • Homo Deus
        • [สรุปหนังสือ] Homo Deus
        • ตอนที่ 1: สามวาระใหม่แห่งอนาคต
        • ตอนที่ 2: คำสาปเรื่องดีอุส
        • ตอนที่ 3: เซเปียนส์ครองโลกได้อย่างไร
        • ตอนที่ 4: พลังของจิตวิสัยร่วม
        • ตอนที่ 5: ข้อตกลงเรื่องความทันสมัยกับเทวทัณฑ์
        • ตอนที่ 6: ปลายทางของการปฏิวัติมนุษย์นิยมคืออภิมนุษย์
        • ตอนที่ 7: ไม่มีทั้งเจตจำนงเสรีและวิญญาณในโลกของข้อมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 8: เซเปียนส์กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
        • ตอนที่ 9: มิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคขัอมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 10: พลังกุณฑาลินี คือเส้นทางสู่ด้านสว่างของ Homo Deus
        • ตอนที่ 11: ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง​(Theory​ of​ Everything)​ของลัทธิข้อมูลนิยมกับ​วิถีแห่งตัวตน
        • ตอนที่ 12: เราต้องก้าวข้ามแต่หลอมรวมลัทธิข้อมูลนิยม
  • See Behind the FX rate
  • Obtaining Stock Prices
  • Monte Carlo Simulation in Finance Python Part-2
  • The Easiest Data Cleaning Method using Python & Pandas
  • How to use iloc and loc for Indexing and Slicing Pandas Dataframes
  • Converting HTML to a Jupyter Notebook
  • Top 50 Tips & Tricks
Powered by GitBook
On this page
  • ชื่อมนุษย์คนแรกที่ถูกจารึก
  • ความสมบูรณ์ของภาษา
  • ระบบราชการ
  • ภาษาคณิตศาสตร์

Was this helpful?

  1. Lift
  2. e-Book
  3. Sapiens – A Brief History of Humankind

ตอนที่ 6 – กำเนิดภาษาเขียน

Previousตอนที่ 5 – คุกที่มองไม่เห็นNextตอนที่ 7 – ความเหลื่อมล้ำ

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

enter image description here

ชื่อมนุษย์คนแรกที่ถูกจารึก

ถ้าในเมืองมีแค่ 10-20 ครอบครัว นายคนนี้อาจจะจำได้ครบทุกครอบครัรว แต่ถ้าในเมืองมีเป็น 100 หรือ 1,000 ครอบครัว การพึ่งพาความจำนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

เซเปี้ยนส์จึงต้องหาทางออกด้วยการ “ดาวน์โหลด” ข้อมูลในสมองลงสู่อะไรซักอย่าง

และนั่นคือต้นกำเนิดของภาษาเขียนครับ

คนกลุ่มแรกที่คิดค้นภาษาเขียนคือชาวสุเมเรียนที่อาศัยอยู่ในเมโสโปเตเมีย (อิรัก-คูเวต ในปัจจุบัน)

ภาษาเขียนของชาวสุเมเรียนจะประกอบด้วยสัญลักษณ์สองชนิด

ชนิดแรกไว้บ่งบอกตัวเลข 1, 10, 60, 600, 3,600 และ 36,000 (ชาวสุเมเรียนใช้เลขฐาน 10 และเลขฐาน 6 ควบคู่กัน และการใช้เลขฐาน 6 ของชาวสุเมเรียนก็ได้ทิ้งมรดกมาให้เราจนถึงทุกวันนี้ เช่นการแบ่งเวลาหนึ่งวันเป็น 24 ชั่วโมง และการแบ่งวงกลมเป็น 360 องศา)

สัญลักษณ์ชนิดที่สองเอาไว้บ่งบอกผู้คน สัตว์ สินค้า อาณาเขต วันเดือนปี ฯลฯ

“ภาษาเขียน” ที่เก่าแก่ที่สุดที่เราเคยขุดพบนั้นถูกเขียนขึ้นบนกระดานดินเหนียวเมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว

อยากรู้มั้ยครับว่าเขาเขียนว่าอะไร?

29,086 Barley 37 months Kushim

29,086 บาร์ลีย์ 37 เดือน คูชิม

ซึ่งน่าจะพอแปลได้ว่า

ข้าวบาร์ลีย์ 29,086 หน่วยถูกนำมาส่งในช่วงเวลา 37 เดือน (ลงชื่อ) คูชิม

“คูชิม” อาจจะเป็นแค่ชื่อตำแหน่งหรือชื่อคนจริงๆ ก็ได้ แต่ผู้เขียนหนังสือให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นชื่อคน ซึ่งถ้าใช่จริงๆ นั่นก็แสดงว่า “คูชิม” คือชื่อเก่าที่สุดที่ประวัติศาสตร์มนุษยชาติได้บันทึกเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

แทนที่จะเป็นชื่อกษัตริย์ นักรบ หรือศาสดา ชื่อแรกในประวัติศาสตร์กลับดูเหมือนจะเป็นชื่อพนักงานบัญชีนะครับ!

ความสมบูรณ์ของภาษา

ภาษาของชาวสุเมเรียนนั้นใช้ได้แค่เพียงจดบันทึกการค้าขายหรือการเก็บส่วย ยังไม่สามารถเอามาแต่งเป็นกลอนหรือนิยายได้ ภาษาของชาวสุเมเรียนยุคเดิมเลยเรียกว่าเป็น partial script หรือเป็นภาษาเขียนที่ยังไม่สามารถถ่ายทอดภาษาพูดได้อย่างสมบูรณ์ แต่เมื่อประมาณ 2500 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาของชาวสุเมเรียนก็พัฒนาขึ้นมาจนเป็น full script จนได้ โดยมีชื่อเรียกว่า cuneiform (คิวนิฟอร์ม)

พระราชาใช้คิวนิฟอร์มในการออกกฎหมาย นักบวชใช้มันเพื่อบันทึกคำทำนาย และคนธรรมดาใช้ภาษานี้ในการเขียนจดหมายหากัน ในช่วงเวลาเดียวกันชาวอียิปต์ก็เริ่มมีภาษาที่สมบูรณ์ที่เรียกว่า hieroglyphics และกว่าประเทศจีนจะมีภาษาสมบูรณ์ใช้ ก็ราว 1200 ปีก่อนคริสตกาล

ระบบราชการ

เชื่อมั้ยว่าระบบราชการ หรือ bureaucracy นั้นถือกำเนิดเพราะภาษาเขียน !?

ลองคิดภาพว่าเมื่อ 1776 ปีก่อนคริสตกาล ชาวสุเมเรียนสองคนมีข้อพิพาทกันว่าใครเป็นเจ้าของที่นาผืนนี้ นายเจคอบอ้างว่าเขาซื้อนาจากชายชื่ออีโซตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว แต่อีโซบอกว่าจริงๆ แล้วเขาแค่ให้เจคอบเซ้งที่นาเป็นเวลา 30 ปีต่างหาก และนี่ก็ถึงเวลาที่เจคอบต้องคืนผืนนาให้เขาได้แล้ว เมื่อตกลงกันไม่ได้ ทั้งสองคนจึงไปที่กรมที่ดิน เจ้าหน้าที่รับเรื่องแล้วก็เดินเข้าไปใน “ห้องเก็บเอกสาร” ที่มีแต่กระดานดินเหนียวเป็นหมื่นแผ่น คำถามคือเจ้าหน้าที่ผู้น่าสงสารคนนี้จะหากระดานดินเหนียวเจอได้ยังไง? และถ้าเจอจริงๆ จะรู้ได้อย่างไรว่ามันคือเอกสารตัวล่าสุด? และถ้าไม่เจอแสดงว่าอีโซไม่เคยขายที่นาผืนนี้หรือเป็นเพียงเพราะว่ากระดานแผ่นนี้สูญหายหรือแตกสลายไปแล้ว?

การจดบันทึกเป็นเรื่องง่าย แต่การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบและการเรียกหาข้อมูล (retrieval) เป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก สิ่งที่ทำให้ชาวสุเมเรียน ชาวอินคา หรือชาวจีนโดดเด่นกว่าชนกลุ่มอื่นจึงไม่ใช่เพียงเพราะพวกเขาคิดค้นภาษาเขียนได้เท่านั้น แต่พวกเขายังคิดค้นระบบที่จะช่วยในการจัดเก็บข้อมูลและเรียกข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังลงทุนสอนคนให้เป็น เสมียน นักบัญชีและอาลักษณ์ (ผู้คัดลอก) อีกด้วย มีการขุดค้นพบ “การบ้าน” ของนักเรียนวิชา Writing ในสมัยเมโสโปเตเมียที่แสดงให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนสมัยนั้นได้ดีทีเดียว

ผมเข้าไปในห้องและนั่งลง อาจารย์อ่านกระดาน แล้วก็พูดว่า “เขียนคำตกหล่นนะ!” แล้วเขาก็เฆี่ยนผม

เจ้าหน้าที่คนหนึ่งพูดว่า “ทำไมเจ้าอ้าปากก่อนที่เราจะอนุญาต” แล้วเขาก็เฆี่ยนผม

เจ้าหน้าที่ที่ดูแลกฎระเบียบพูดว่า “ทำไมลุกขึ้นก่อนที่เราจะอนุญาต” แล้วเขาก็เฆี่ยนผม

คนเฝ้าประตูพูดว่า “ทำไมเดินออกไปก่อนที่เราจะอนุญาต” แล้วเขาก็เฆี่ยนผม

คนดูแลเหยือกเบียร์พูดว่า “ทำไมเอาเบียร์ไปก่อนที่เราจะอนุญาต” แล้วเขาก็เฆี่ยนผม

อาจารย์วิชาสุเมเรียนพูดว่า “ทำไมเจ้าพูดภาษาอัคคาเดียน” แล้วเขาก็เฆี่ยนผม

อาจารย์พูดว่า “ลายมือเจ้าแย่มาก” แล้วเขาก็เฆี่ยนผม

สมองของคนเราถูกออกแบบให้การเก็บและเรียกข้อมูลนั้นเป็นไปอย่างอิสระและไร้ระเบียบ แต่คนที่เรียนเป็นอาลักษณ์หรือนักบัญชีนั้น ต้องรู้วิธีจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบ มีแบบแผนที่ชัดเจน ทำให้เขามีกระบวนการคิดที่แตกต่างจากคนปกติไปโดยปริยาย เพราะในระบบราชการนั้น แต่ละเรื่องต้องถูกจัดเก็บแยกกัน ลิ้นชักนี้สำหรับสัญญากู้บ้าน อีกลิ้นชักนึงสำหรับทะเบียนสมรส อีกลิ้นชักนึงสำหรับคดีความ ฯลฯ

ผู้เขียนบอกว่า ผลกระทบสำคัญที่สุดที่ภาษาเขียนทิ้งไว้ให้เรา คือมันได้สร้างกระบวนการคิดแบบใหม่ (ซึ่งขัดกับการทำงานโดยธรรมชาติของสมอง) จากการมองทุกอย่างเป็นองค์รวมและเชื่อมโยงกันหมด กลายเป็นการมองแบบแยกส่วนและกระบวนการทำงานแบบราชการ

ภาษาคณิตศาสตร์

เวลาผ่านไปหลายศตวรรษ วิธีการจัดการข้อมูลแบบราชการก็มีประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆ และห่างไกลวิธีคิดของมนุษย์ตามธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ ในปีค.ศ.900 partial script ชนิดใหม่ก็ถือกำเนิดขึ้น และทำให้การจัดการข้อมูลเชิงปริมาณมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า โดย partial script ชนิดนี้ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์สิบแบบตั้งแต่ 0 ถึง 9 และมันถูกเรียกขานว่าตัวเลขอารบิก ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วมันถูกคิดค้นโดยชาวฮินดู แต่ที่มันได้รับชื่อนี้เพราะว่าตอนที่ชาวอาหรับบุกอินเดียแล้วได้รู้จักกับระบบเลขชนิดนี้ พวกเขาก็ได้นำไปพัฒนาและเผยแพร่มันออกไปทั่วตะวันออกกลางและยุโรปนั่นเอง

ในเวลาเพียงไม่นาน ภาษาคณิตศาสตร์ก็ถูกใช้งานไปทั่วโลกและเข้ามามีบทบาทสำคัญในแทบทุกศาสตร์ ยิ่งในสาขาฟิสิกส์และวิศวกรรมด้วยแล้ว ตัวเลขอารบิกและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้เข้ามาจับจองพื้นที่เกือบหมดจนแทบไม่หลงเหลือภาษามนุษย์ full script อยู่เลย

ใครก็ตามที่อยากจะโน้มน้าวคนมีอำนาจในบริษัทหรือในรัฐบาลล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาภาษาคณิตศาสตร์ แม้กระทั่งสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่าง “ความยากจน” “ความสุข” หรือ “ความน่าเชื่อถือ” ก็ยังถูกตีค่าออกมาให้เป็นตัวเลข (poverty line, wellbeing levels, credit rating) และในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ภาษาที่มาแรงที่สุดก็มีสัญลักษณ์เพียงสองตัวเท่านั้น นั่นคือสัญลักษณ์ 0 กับ 1

ทุกคำที่ผมพิมพ์อยู่ในคอมพิวเตอร์ตอนนี้ และข้อความที่คุณอ่านอยู่บนจอล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลที่ถูกใส่รหัสด้วยเลข 0 และ 1 มันทำให้คนทั้งโลกได้เชื่อมต่อกันและเปิดทางให้เราเข้าถึงข้อมูลขนาดมหาศาลมากกว่ายุคใด คงไม่มีชาวสุเมเรียนคนไหนคาดคิดว่า ภาษาเขียนที่เอาไว้นับจำนวนข้าวบาร์เลย์จะพาเรามาได้ไกลขนาดนี้

ในสมัยที่ Sapiens ยังเป็นอยู่นั้น พวกเราอยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ แค่ไม่กี่สิบหรือร้อยกว่าคน ข้อมูลต่างๆ ที่ส่งต่อกันจึงมีปริมาณไม่มากนัก การถ่ายทอดข้อมูลกันด้วยปากนั้นก็เพียงพอแล้ว แต่พอเข้ายุคปฏิวัติเกษตรกรรม ขนาดของเมืองมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นแสนหรือกระทั่งเป็นล้านคน ปริมาณข้อมูลก็เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจนเกินกว่าใครจะจำและถ่ายทอดได้หมด เช่นคนที่ดูแลยุ้งฉางอาจจะจำได้ว่าครอบครัวนาย A เคยเอาข้าวบาร์เลย่มาเก็บไว้ที่นี่เมื่อไหร่และมีปริมาณเท่าไหร่

อีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือ นอกจากจะบันทึกข้อมูลลงเป็นสัญลักษณ์และอักขระแล้ว คนรุ่นโบราณยังมีวิธีบันทึกแบบอื่นอีก เช่นชาวอินคาที่จะ “จดบันทึก” ด้วยการเอา “เชือก” มามัดเป็นปมๆ เรียกว่า คิปู () แทน

โดยธรรมชาติ สมองของคนเรานั้นจะเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นอิสระ (free association) เช่น ขณะที่ผมนั่งเขียนบล็อกนี้ก็ได้ยินเสียงนกร้อง ทำให้นึกถึง Twitter ที่มีโลโก้เป็นรูปนก แล้วก็ทำให้นึกถึง ที่มีคนตามนับแสนคนทั้งๆ ที่มีแค่ทวีตเดียว แล้วก็นึกถึง Elon Musk ที่เคยทำ Paypal กับ Peter Thiel แล้วก็นึกถึงดาวอังคารเพราะ Elon เป็นเจ้าของ SpaceX ที่มีเป้าหมายอพยพคนไปดาวอังคาร ฯลฯ

ที่มา: .

นักล่าสัตว์-เก็บพืชผล
Quipu
ทวิตเตอร์ของ Peter Thiel
https://anontawong.com