📒
Knowledge-Base
  • Knowledge Base
  • Tutorials
    • Python
      • Introduction
      • Important basic syntax
      • Awesome Python
      • Python 101
      • Python Cheat sheet
      • โครงสร้างของภาษา
      • Library & Package
      • Variable & Data Types
      • Lists
      • Dictionary
      • Function
      • Built-in Function
        • enumerate()
      • Modules
      • Classes & Objects
      • Inheritance
      • Date & Time
      • การใช้งาน Virtualenv
    • Pandas
      • Learning Pandas Second Edition
        • 2. Running with pandas
        • 3. Data with the Series
        • 4. Create DataFrame
        • 5. Manipulating DataFrame Structure
  • e-Book
    • Tech
      • Automate the Boring Stuff
      • A Whirlwind Tour of Python
  • Innovation & Tech
    • Python
    • Pandas
      • 10 Pandas tips
    • Web Scraping
      • Web Scraping 101
      • Requests and BeautifulSoup
  • Industry
    • 20 แนวคิดขายของออนไลน์
    • แผนระยะยาวของ Toyota
    • โลกหลังยุคโลกาภิวัฒน์
  • Opinion
    • บรรยง พงษ์พานิช: กับดักรัฐราชการ 4.0
    • ปัญญาภิญโญ ณ Wongnai WeShare
    • ประเทศไทยในความคิด ความคิดในประเทศไทย
    • การสถาปนา ‘รัฐบรรษัทอำนาจนิยม’ ในสังคมไทย
  • People
    • “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”
    • โซเชียลมีเดีย ในมุมมองของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
  • Parent
    • ADULTIFICTION
    • ความฉลาดสร้างได้
    • การเรียนรู้ของลูกในวันนี้
    • CODING คืออะไร
    • สอน CODING อย่างไรให้ง่าย
    • 8 ข้อครูควรรู้ เมื่อจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
  • Lift
    • คุณรู้สึกว่า โลกทุกวันนี้หมุนเร็วและแคบลงหรือเปล่า?
    • ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้าง
    • กฎ 40% ของหน่วย SEAL
    • e-Book
      • Sapiens – A Brief History of Humankind
        • [สรุป] โฮโม เซเปียนส์ สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่
        • ตอนที่ 1- กำเนิด Homo Sapiens
        • ตอนที่ 2 – สิ่งที่ทำให้เราครองโลก
        • ตอนที่ 3 – ยุคแห่งการล่าสัตว์เก็บพืชผล
        • ตอนที่ 4 – การหลอกลวงครั้งยิ่งใหญ่
        • ตอนที่ 5 – คุกที่มองไม่เห็น
        • ตอนที่ 6 – กำเนิดภาษาเขียน
        • ตอนที่ 7 – ความเหลื่อมล้ำ
        • ตอนที่ 8 – โลกที่ถูกหลอมรวม
        • ตอนที่ 9 – มนตราของเงินตรา
        • ตอนที่ 10 – จักรวรรดิ
        • ตอนที่ 11 – บทบาทของศาสนา
        • ตอนที่ 12 – ศาสนาไร้พระเจ้า
        • ตอนที่ 13 – ยุคแห่งความไม่รู้
        • ตอนที่ 14 – 500 ปีแห่งความก้าวหน้า
        • ตอนที่ 15 – เมื่อยุโรปครองโลก
        • ตอนที่ 16 – สวัสดีทุนนิยม
        • ตอนที่ 17 – จานอลูมิเนียมของนโปเลียน
        • ตอนที่ 18 – ครอบครัวล่มสลาย
        • ตอนที่ 19 – สุขสมบ่มิสม
        • ตอนที่ 20 – อวสาน Sapiens
      • Homo Deus
        • [สรุปหนังสือ] Homo Deus
        • ตอนที่ 1: สามวาระใหม่แห่งอนาคต
        • ตอนที่ 2: คำสาปเรื่องดีอุส
        • ตอนที่ 3: เซเปียนส์ครองโลกได้อย่างไร
        • ตอนที่ 4: พลังของจิตวิสัยร่วม
        • ตอนที่ 5: ข้อตกลงเรื่องความทันสมัยกับเทวทัณฑ์
        • ตอนที่ 6: ปลายทางของการปฏิวัติมนุษย์นิยมคืออภิมนุษย์
        • ตอนที่ 7: ไม่มีทั้งเจตจำนงเสรีและวิญญาณในโลกของข้อมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 8: เซเปียนส์กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
        • ตอนที่ 9: มิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคขัอมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 10: พลังกุณฑาลินี คือเส้นทางสู่ด้านสว่างของ Homo Deus
        • ตอนที่ 11: ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง​(Theory​ of​ Everything)​ของลัทธิข้อมูลนิยมกับ​วิถีแห่งตัวตน
        • ตอนที่ 12: เราต้องก้าวข้ามแต่หลอมรวมลัทธิข้อมูลนิยม
  • See Behind the FX rate
  • Obtaining Stock Prices
  • Monte Carlo Simulation in Finance Python Part-2
  • The Easiest Data Cleaning Method using Python & Pandas
  • How to use iloc and loc for Indexing and Slicing Pandas Dataframes
  • Converting HTML to a Jupyter Notebook
  • Top 50 Tips & Tricks
Powered by GitBook
On this page
  • ความพิเศษของภาษามนุษย์
  • นิทานปรัมปรา
  • นิทานเปอร์โยต์
  • ประกาศอิสรภาพจากพันธุกรรม

Was this helpful?

  1. Lift
  2. e-Book
  3. Sapiens – A Brief History of Humankind

ตอนที่ 2 – สิ่งที่ทำให้เราครองโลก

Previousตอนที่ 1- กำเนิด Homo SapiensNextตอนที่ 3 – ยุคแห่งการล่าสัตว์เก็บพืชผล

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

enter image description here

การปฏิวัติสำคัญของมนุษยชาติ (Homo Sapiens)

70,000 ปีก่อน – Cognitive Revolution การปฏิวัติด้านกระบวนการคิด

12,000 ปีก่อน – Agricultural Revolution การปฏิวัติเกษตรกรรม

500 ปีก่อน – Scientific Revolution การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

200 ปีก่อน – Industrial Revolution การปฏิวัติอุตสาหกรรม

ความพิเศษของภาษามนุษย์

เมื่อ 70,000 ปีที่แล้ว เผ่าพันธุ์ Homo Sapiens เริ่มออกเดินทางจากแอฟริกาตะวันออก ไปยังทวีปยุโรปและเอเชียซึ่งมีนีแอนเดอธาลและโฮโมอิเร็คตัสอาศัยอยู่ก่อนแล้ว และช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง ที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกิด Cognitive Revolution ในมันสมองของมนุษย์เซเปี้ยน ไม่มีใครตอบได้ว่า Cognitive Revolution เกิดเพราะอะไร รู้แต่เพียงว่าช่วง 70,000 ถึง 30,000 ปีที่แล้ว คือช่วงที่มนุษย์คิดค้นเรือ ตะเกียงน้ำมัน ธนู ลูกศร และเข็มเย็บผ้า รวมถึงก้าวขึ้นไปสู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร

สิ่งหนึ่งที่ Cognitive Revolution มอบให้ ก็คือความสามารถในการใช้ภาษาของมนุษย์ จริง ๆ แล้วภาษาไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะสัตว์อื่นๆ ก็สามารถสื่อสารกันด้วยภาษาง่ายๆ ได้ เช่นผึ้งหรือมดก็มีการสื่อสารที่จะบอกว่าแหล่งอาหารอยู่ตรงไหน และมนุษย์ก็ไม่ใช่เผ่าพันธุ์แรกที่มีภาษาแบบที่ใช้เสียง (vocal language) เพราะลิงก็มีภาษาของมัน เสียงร้องแบบหนึ่งจะ หมายความว่า “ระวังเหยี่ยว!” ส่วนเสียงร้องอีกแบบหนึ่งจะแปลว่า “ระวังสิงโต!”

นักวิทยาศาสตร์เคยอัดเสียงร้องทั้งสองแบบ แล้วเอาไปเปิดให้ลิงฝูงหนึ่งฟัง พอลิงได้ฟังเสียงแรก มันจะมองขึ้นท้องฟ้าด้วยความกลัว พอเปิดเสียงที่สอง มันจะกรูไปปีนขึ้นต้นไม้ แล้วภาษามนุษย์ยอดเยี่ยมกว่าภาษาของสัตว์อื่นยังไง?

หนึ่ง – ภาษาของเรานั้นยืดหยุ่นมาก เราสามารถใช้เสียงไม่กี่เสียงมาผสมกันเพื่อสร้างคำ ประโยค และความหมายได้อย่างไม่จำกัด ในขณะที่ลิงเตือนพูดได้แค่ “ระวังสิงโต!” แต่มนุษย์เราสามารถเล่าได้ว่า “เมื่อเช้านี้ ตรงแถวๆ ริมแม่น้ำ มีสิงโตตัวหนึ่งกำลังไล่ตามฝูงวัวกระทิงอยู่”

สอง – นอกจากจะพูดถึงสิ่งอื่นได้แล้ว มนุษย์ยังใช้ภาษาเพื่อเอาไว้ซุบซิบนินทากันเองด้วย (gossip) ฟังดูเป็นเรื่องไร้สาระ แต่จริงๆ แล้วนี่เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะมนุษย์นั้นต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อล่าอาหารและสืบพันธุ์ ดังนั้นสิงโตอยู่ที่ไหนจึงไม่สำคัญเท่ากับว่า ในเผ่าของเรา ใครเกลียดขี้หน้าใคร ใครกำลังกุ๊กกิ๊กกับใคร ใครเชื่อถือได้ และใครขี้โกหก

สาม – และเป็นข้อที่สำคัญที่สุด – คือภาษาของมนุษย์นั้นสามารถพูดถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงได้ด้วย มนุษย์ Homo Sapiens เป็นเพียงเผ่าพันธุ์เดียวที่สามารถนึกคิด ถ่ายทอด และเชื่อในสิ่งที่เป็นนามธรรม สัตว์หรือ Homo เผ่าพันธุ์อื่นพูดอาจพูดคำว่า “ระวังสิงโต!” ได้ แต่มีเพียง Homo Sapiens เท่านั้นที่จะพูดว่า “สิงโตคือจิตวิญญาณผู้ปกป้องเผ่าของเรา”

ความสามารถในการสื่อสารเรื่องที่แต่งขึ้นเอง (fiction) หรือความจริงสมมติ (imagined reality) คือคุณลักษณะพิเศษที่สุดของ Homo Sapiens สัตว์อื่นๆ ไม่มีความสามารถในการคิดถึงหรือเชื่อเรื่องที่จับต้องไม่ได้ เราไม่มีทางจะโน้มน้าวให้ลิงตัวไหนเชื่อได้เลยว่า ขอเพียงเจ้าเอากล้วยหอมให้เราหนึ่งลูกตอนนี้ พอเจ้าตายไป เจ้าจะได้ขึ้นสวรรค์ที่เต็มไปด้วยลิงสวยๆ และมีกล้วยนับล้านหวีให้กินตลอดไป แต่เราพูดสิ่งนี้กับมนุษย์ได้ และมนุษย์นับล้านคนก็พร้อมที่จะเชื่อเสียด้วย แล้วการที่มนุษย์สามารถสื่อสารและเชื่อ “เรื่องที่แต่งขึ้น” มันทำให้เราครองโลกได้อย่างไร

นิทานปรัมปรา

สังเกตได้ว่า สัตว์ที่อยู่กันเป็นฝูงอย่างลิงนั้น ขนาดของฝูงมักจะไม่ใหญ่นัก เพราะการที่สัตว์กลุ่มหนึ่งจะอยู่ด้วยกันและร่วมมือกันออกหาอาหารได้นั้น สัตว์ทุกตัวในฝูงต้องรู้จักและคุ้นเคยกันพอสมควร ถ้าขนาดของฝูงใหญ่เกินไป ความวุ่นวายจะตามมา และสัตว์กลุ่มหนึ่งจะออกจากฝูงไปเพื่อไปตั้งกลุ่มใหม่

แล้วเหตุใด Homo Sapiens ถึงสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของขนาด 150 คน และสร้างเมือง ประเทศ หรืออาณาจักรที่มีคนนับแสนนับล้านได้?

คำตอบก็คือ Sapiens เราเชื่อใน common myths ครับ

common = โดยทั่วไป

myths = ตำนาน หรือนิทานปรัมปรา

common myths = นิทานที่ทุกคนยึดถือโดยทั่วกัน

ตำนาน เทพเจ้า ศาสนา เงินตรา ล้วนแล้วแต่เป็น common myths

common myths ก่อให้เกิดการร่วมมือกันของคนแปลกหน้าอย่างที่ไม่เคยมีเผ่าพันธุ์ใดทำได้มาก่อน

  • ชาวแคธอลิกที่ไม่เคยรู้จักกันเลยอาจพร้อมใจบริจาคเงินสร้างโรงพยาบาล เพราะพวกเขาต่างก็เชื่อเรื่องบุตรของพระเจ้าที่ลงมาเกิดเป็นมนุษย์และยอมสละชีพเพื่อไถ่บาปให้แก่เราทุกคน

  • ชาวเซอร์เบียสองคนที่ไม่เคยเจอกันมาก่อนพร้อมจะออกรบและพลีชีพเพื่อธำรงค์ไว้ซึ่ง “แผ่นดินเซอร์เบีย” และ “ชนชาติเซอร์เบีย”

  • ทนายความสองคนที่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อนอาจจะร่วมมือกันเพื่อว่าความให้กับจำเลยที่เขาไม่รู้จัก เพราะพวกเขาต่างเชื่อเรื่อง “ความยุติธรรม” และ “สิทธิมนุษยชน”

แต่ common myths ต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียง “ความจริงสมมติ” ที่มีอยู่แค่ในจินตนาการร่วมของพวกเราเหล่า Homo Sapiens เท่านั้น ไม่ได้มีตัวตนอยู่จริงทางกายภาพเลย ความสามารถที่จะเชื่อเรื่องราวที่แต่งขึ้นนี่เอง ที่ทำให้ Homo Sapiens เหนือกว่า Homo ตระกูลอื่น ๆ ถ้าต้องสู้กันแบบตัวต่อตัว Homo Sapien คงไม่อาจสู้กับ Neanderthal ได้ เพราะนีแอนเดอธาลนั้นตัวใหญ่กว่าและแข็งแรงกว่า แต่ถ้าต้องปะทะกันเป็นกลุ่ม เผ่าเซเปี้ยนจะเหนือกว่าเผ่านีแอนเดอธาลอยู่หลายขุม เพราะแม้นีแอนเดอธาลอาจจะสื่อสารได้ว่าสิงโตอยู่ที่ไหน แต่นีแอนเดอธาลไม่สามารถเล่าเรื่องราวของจิตวิญญาณของสิงโตที่ปกป้องและคุ้มครองเผ่าของตนได้ ความเชื่อมั่นใน common myths นี่เองทำให้เซเปี้ยนสามารถรวมกลุ่มกันได้ใหญ่กว่า และมีความร่วมแรงร่วมใจมากกว่าจนอยู่เหนือ Homo สายพันธุ์อื่น

นิทานเปอร์โยต์

บริษัทเปอร์โยต์ เป็นองค์กรสัญชาติฝรั่งเศสที่มีพนักงาน 200,000 คน ผลิตรถปีละกว่า 1 ล้าน 5 แสนคัน แต่อะไรคือบริษัทเปอร์โยต์?

รถเปอร์โยต์ไม่ใช่บริษัท เพราะต่อให้เอารถยี่ห้อทุกคันมาทุบทิ้ง บริษัทเปอร์โยต์ก็ยังอยู่และผลิตรถใหม่ได้ โรงงานก็ไม่ใช่บริษัทเปอร์โยต์ เพราะต่อให้โรงงานทุกที่ถูกทำลาย บริษัทก็ยังกู้เงินมาสร้างโรงงานใหม่ได้ พนักงานก็ไม่ใช่บริษัทเปอร์โยต์ เพราะต่อให้ CEO หรือพนักงานทุกคนตายไป ตัวบริษัทเองก็ยังอยู่และรับพนักงานใหม่ได้จริงๆ แล้ว วิธีเดียวที่จะทำลายบริษัทเปอร์โยต์ได้ คือต้องให้ศาลฝรั่งเศสประกาศความสิ้นสุดของบริษัทเปอร์โยต์ และเมื่อผู้มีอำนาจจรดปากกาเพื่อเซ็นต์ลายเซ็นต์ตัวเองบนกระดาษหนึ่งแผ่น ความเป็น “บริษัทเปอร์โยต์” ก็สิ้นสุดลง บริษัทเปอร์โยต์จึงเป็นเพียง “นิทาน” ชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า “บริษัทจำกัด” (Limited Liability Company) ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางความคิดที่ชาญฉลาดที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์เซเปี้ยน

ถ้าผมเกิดในปี ค.ศ.1250 (ก่อนจะมีคอนเซ็ปต์บริษัทจำกัด) และทำธุรกิจผลิตรถเกวียน หากลูกค้าซื้อรถเกวียนไปใช้ได้ครั้งเดียวแล้วพัง ลูกค้าจะต้องมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผม และถ้าผมมีเงินไม่พอ ผมต้องขายบ้านขายทรัพย์สินเพื่อหาเงินมาชดใช้ เมื่อเจ้าของคือบริษัท และบริษัทคือเจ้าของ คนส่วนใหญ่จึงไม่กล้าทำธุรกิจ เพราะถ้าพลาดขึ้นมานั่นหมายความว่าครอบครัวของตัวเองจะซวยไปด้วย มนุษย์เราจึงร่วมกันจินตนาการสิ่งที่เรียกว่า “บริษัทจำกัด” ขึ้นมา

บริษัทเป็น “นิติบุคคล” (ตัวตนทางกฎหมาย) ที่แยกออกมาจากเจ้าของหรือนักลงทุนโดยสิ้นเเชิง นายอาร์มอง เปอร์โยต์ (Armand Peugeot) คือผู้ก่อตั้งบริษัทเปอร์โยต์ ถ้ารถยนต์เปอร์โยต์พัง ลูกค้าสามารถฟ้องร้องบริษัทเปอร์โยต์ได้ แต่ฟ้องร้องนายเปอร์โยต์ไม่ได้ ถ้าบริษัทเปอร์โยต์กู้เงินจากแบงค์มาแล้วบริษัทเจ๊ง แบงค์ก็ไม่สามารถบังคับให้นายเปอร์โยต์ขายทรัพย์สินของตัวเองได้ เพราะคนที่ติดหนี้แบงค์คือบริษัทเปอร์โยต์ ไม่ใช่นายเปอร์โยต์ และแม้นายเปอร์โยต์จะตายไปนานแล้ว แต่บริษัทเปอร์โยต์ก็ยังสุขสบายดี ในช่วงสองร้อยปีที่ผ่านมา “บริษัทจำกัด” คือตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก และเราก็คุ้นเคยกับมันเสียจนเราลืมไปเลยว่าบริษัทเหล่านี้เป็นเพียง “ความจริงสมมติ” ที่มีอยู่แค่ใน “จินตนาการร่วม” ของมนุษย์เท่านั้น

ประกาศอิสรภาพจากพันธุกรรม

นอกจาก Homo Sapiens แล้ว สัตว์ทุกชนิดจะมีพฤติกรรมเหมือนเดิมจนกว่าจะถูกบังคับให้ปรับตัวเพราะความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ที่เราเรียกว่าการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม (genetic mutation) เมื่อ 2 ล้านปีที่แล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของจนเกิดเผ่าพันธุ์ Homo erectus ขึ้นมา โดยเผ่าพันธุ์นี้เป็นเผ่าพันธุ์ที่คิดค้นเครื่องมือที่ทำจากหิน (เราถึงเรียก Homo erectus ว่าคนยุคหิน) แต่เพราะว่าหลังจากนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมใน Homo erectus อีกเลย พวกเขาจึงใช้เครื่องมือหินแบบเดิมอยู่ถึง 2 ล้านปี!

ในขณะที่ Homo Sapiens นั้นสามารถจินตนาการและเชื่อเรื่องที่แต่งขึ้นเองได้ เราจึงเปลี่ยนพฤติกรรมได้โดยไม่ต้องหวังพึ่งการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมอีกต่อไป เป็นเวลาสองล้านปีที่ Homo erectus ใช้ชีวิตเหมือนเดิมทุกวัน แต่ในเวลาแค่สามหมื่นปี Homo Sapiens เปลี่ยนแปลงเครื่องมือมาไม่รู้กี่ครั้ง เปลี่ยนการปกครองมาไม่รู้กี่หน

เมื่อสามหมื่นปีก่อน อาวุธที่ดีที่สุดที่เซเปี้ยนคนหนึ่งจะสร้างได้คือธนูและลูกศร มาสมัยนี้ เราสามารถสร้างอาวุธอย่างระเบิดนิวเคลียร์ ไม่ใช่เพราะว่ามือของเราทำงานได้ดีกว่านายช่างเซเปี้ยนเมื่อสามหมื่นปีก่อน แต่เป็นเพราะว่าเราสามารถร่วมมือกับคนหลายพันคนที่เราไม่เคยเห็นหน้า ไม่ว่าจะเป็นคนขุดแร่ยูเรเนียม นักฟิสิกส์ที่คิดสูตรระเบิด หรือนักการเมืองที่ยกมือในสภาเพื่ออนุมัติการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ Common Myths ที่เชื่อมโยงจินตนาการของมนุษยชาติไว้ด้วยกันจึงเป็นเหมือน “ทางด่วนของวิวัฒนาการ” ที่ทำให้เผ่าพันธุ์ Homo Sapiens พัฒนาอย่างก้าวกระโดดและอยู่เหนือทุกเผ่าพันธุ์บนโลกใบนี้

เหล่า Homo Sapiens รุ่นก่อนเก่าอาจจะตั้งกลุ่มได้ใหญ่กว่าลิงนิดหน่อย เพราะเรามีภาษาที่เอาไว้ซุบซิบเพื่อรับรู้ข้อมูลของคนอื่นๆ ในฝูงได้ แต่ขนาดของกลุ่มก็ยังมีขีดจำกัดอยู่ดี โดยตัวเลขที่นักวิทยาศาสตร์เห็นตรงกันก็คือ 150 คน ถ้ากลุ่มขยายขนาดใหญ่กว่านี้จะเริ่มอยู่ด้วยกันลำบากแล้ว (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ [Dunbar’s Number]())

ที่มา: .

https://en.wikipedia.org/wiki/Dunbar's_number
https://anontawong.com