📒
Knowledge-Base
  • Knowledge Base
  • Tutorials
    • Python
      • Introduction
      • Important basic syntax
      • Awesome Python
      • Python 101
      • Python Cheat sheet
      • โครงสร้างของภาษา
      • Library & Package
      • Variable & Data Types
      • Lists
      • Dictionary
      • Function
      • Built-in Function
        • enumerate()
      • Modules
      • Classes & Objects
      • Inheritance
      • Date & Time
      • การใช้งาน Virtualenv
    • Pandas
      • Learning Pandas Second Edition
        • 2. Running with pandas
        • 3. Data with the Series
        • 4. Create DataFrame
        • 5. Manipulating DataFrame Structure
  • e-Book
    • Tech
      • Automate the Boring Stuff
      • A Whirlwind Tour of Python
  • Innovation & Tech
    • Python
    • Pandas
      • 10 Pandas tips
    • Web Scraping
      • Web Scraping 101
      • Requests and BeautifulSoup
  • Industry
    • 20 แนวคิดขายของออนไลน์
    • แผนระยะยาวของ Toyota
    • โลกหลังยุคโลกาภิวัฒน์
  • Opinion
    • บรรยง พงษ์พานิช: กับดักรัฐราชการ 4.0
    • ปัญญาภิญโญ ณ Wongnai WeShare
    • ประเทศไทยในความคิด ความคิดในประเทศไทย
    • การสถาปนา ‘รัฐบรรษัทอำนาจนิยม’ ในสังคมไทย
  • People
    • “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”
    • โซเชียลมีเดีย ในมุมมองของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
  • Parent
    • ADULTIFICTION
    • ความฉลาดสร้างได้
    • การเรียนรู้ของลูกในวันนี้
    • CODING คืออะไร
    • สอน CODING อย่างไรให้ง่าย
    • 8 ข้อครูควรรู้ เมื่อจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
  • Lift
    • คุณรู้สึกว่า โลกทุกวันนี้หมุนเร็วและแคบลงหรือเปล่า?
    • ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้าง
    • กฎ 40% ของหน่วย SEAL
    • e-Book
      • Sapiens – A Brief History of Humankind
        • [สรุป] โฮโม เซเปียนส์ สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่
        • ตอนที่ 1- กำเนิด Homo Sapiens
        • ตอนที่ 2 – สิ่งที่ทำให้เราครองโลก
        • ตอนที่ 3 – ยุคแห่งการล่าสัตว์เก็บพืชผล
        • ตอนที่ 4 – การหลอกลวงครั้งยิ่งใหญ่
        • ตอนที่ 5 – คุกที่มองไม่เห็น
        • ตอนที่ 6 – กำเนิดภาษาเขียน
        • ตอนที่ 7 – ความเหลื่อมล้ำ
        • ตอนที่ 8 – โลกที่ถูกหลอมรวม
        • ตอนที่ 9 – มนตราของเงินตรา
        • ตอนที่ 10 – จักรวรรดิ
        • ตอนที่ 11 – บทบาทของศาสนา
        • ตอนที่ 12 – ศาสนาไร้พระเจ้า
        • ตอนที่ 13 – ยุคแห่งความไม่รู้
        • ตอนที่ 14 – 500 ปีแห่งความก้าวหน้า
        • ตอนที่ 15 – เมื่อยุโรปครองโลก
        • ตอนที่ 16 – สวัสดีทุนนิยม
        • ตอนที่ 17 – จานอลูมิเนียมของนโปเลียน
        • ตอนที่ 18 – ครอบครัวล่มสลาย
        • ตอนที่ 19 – สุขสมบ่มิสม
        • ตอนที่ 20 – อวสาน Sapiens
      • Homo Deus
        • [สรุปหนังสือ] Homo Deus
        • ตอนที่ 1: สามวาระใหม่แห่งอนาคต
        • ตอนที่ 2: คำสาปเรื่องดีอุส
        • ตอนที่ 3: เซเปียนส์ครองโลกได้อย่างไร
        • ตอนที่ 4: พลังของจิตวิสัยร่วม
        • ตอนที่ 5: ข้อตกลงเรื่องความทันสมัยกับเทวทัณฑ์
        • ตอนที่ 6: ปลายทางของการปฏิวัติมนุษย์นิยมคืออภิมนุษย์
        • ตอนที่ 7: ไม่มีทั้งเจตจำนงเสรีและวิญญาณในโลกของข้อมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 8: เซเปียนส์กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
        • ตอนที่ 9: มิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคขัอมูลนิยม (dataism)
        • ตอนที่ 10: พลังกุณฑาลินี คือเส้นทางสู่ด้านสว่างของ Homo Deus
        • ตอนที่ 11: ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง​(Theory​ of​ Everything)​ของลัทธิข้อมูลนิยมกับ​วิถีแห่งตัวตน
        • ตอนที่ 12: เราต้องก้าวข้ามแต่หลอมรวมลัทธิข้อมูลนิยม
  • See Behind the FX rate
  • Obtaining Stock Prices
  • Monte Carlo Simulation in Finance Python Part-2
  • The Easiest Data Cleaning Method using Python & Pandas
  • How to use iloc and loc for Indexing and Slicing Pandas Dataframes
  • Converting HTML to a Jupyter Notebook
  • Top 50 Tips & Tricks
Powered by GitBook
On this page

Was this helpful?

  1. Lift
  2. e-Book
  3. Sapiens – A Brief History of Humankind

ตอนที่ 10 – จักรวรรดิ

Previousตอนที่ 9 – มนตราของเงินตราNextตอนที่ 11 – บทบาทของศาสนา

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

enter image description here

เมื่อตอนที่แล้วเราพูดถึง “” ซึ่งมีบทบาทในการสร้างโลภาภิวัฒน์ในเชิงเศรษฐกิจ วันนี้จะขอพูดถึง จักรรรดิ (Empires) ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างโลกาภิวัฒน์ในเชิงสังคมและการเมืองนะครับ

จักรวรรดิคืออะไร?

มีจักรวรรดิมากมายที่เราคุ้นหู เช่น จักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิเปอร์เซีย จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิมองโกล รวมไปถึงราชวงศ์ฮั่น แต่อะไรคือตัวชี้วัดว่า อาณาเขตหรือการปกครองใดเป็นจักรวรรรดิ?

ผู้เขียนบอกว่าจักรวรรดิจะมีคุณลักษณะสองข้อด้วยกัน

  1. ปกครองผู้คนหลายเชื้อชาติ (rule over a significant number of distinct peoples)

  2. มีอาณาเขตที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพราะพร้อมจะกลืนกินบ้านอื่นเมืองอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานหรืออัตลักษณ์ไป

ประเทศอังกฤษในตอนนี้ไม่ถือว่าเป็นจักรวรรดิเพราะไม่สามารถเพิ่มอาณาเขตได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนอัตลักษณ์ของตัวเอง แต่เมื่อร้อยปีที่แล้วเกือบทุกที่บนโลกใบนี้มีโอกาสที่จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษ

คำว่า “จักรวรรดิ” นั้นมีความหมายแง่ลบอยู่ในที เพราะเราจะเห็นภาพของการทำสงคราม ฆ่าฟัน และกดขี่ข่มเหงประชาชนในเมืองที่ถูกยึดครอง แต่ความจริงก็คือในช่วง 2500 ปีที่ผ่านมาการปกครองแบบจักรวรรดิคือการปกครองที่มีเสถียรภาพที่สุดของมนุษย์

การที่จักรวรรดิใดจักรวรรดิหนึ่งจะล่มสลายนั้นมักไม่ได้เกิดจากการลุกฮือขึ้นของประชาชนที่ทนต่อการกดขี่ไม่ได้ (เพราะกลุ่มกบฎเหล่านี้ปราบปรามได้ง่ายมาก) แต่มักจะเกิดจากการทะเลาะกันเองในหมู่ผู้ปกครอง หรือการรุกรานจากจักรวรรดิอื่น

จักรวรรดิแรก จักรวรรดิแรกของมนุษย์มีชื่อว่าจักรวรรดิอัคคาเดียนของซาร์กอนมหาราช (Akkadian Empire of Sargon the Great) ในปี 2250 ก่อนคริสตกาล โดยซาร์กอนนั้นเริ่มต้นจากการเป็นพระราชาของ Kish เมืองเล็กๆ ในเมโสโปเตเมีย (ปัจจุบันอยู่ทางใต้ของเมืองแบกแดดไป 80 กิโลเมตร) ก่อนจะค่อยๆ ยึดครองเมืองในเมโสโปเตเมียทั้งหมดและเมืองรอบนอกต่างๆ ด้วย โดยซาร์กอนมหาราชได้ประกาศว่าท่านได้ผู้ชิตโลกทั้งใบแล้ว (ทั้งที่จริงๆ อาณาเขตของจักรวรรดิอัคคาเดียนนั้นกินพื้นที่ของประเทศอิรักและซีเรียเท่านั้น)

ซาร์กอนมหาราชสวรรคตตได้ไม่นาน จักรวรรดิอัคคาเดียนก็ล่มสลายแต่พระราชาในยุคถัดมาในแคว้นบาบิโลนหรือแคว้นอัสซีเรียต่างก็พยายามเดินตามรอยซาร์กอนและประกาศตนว่าเขาคือผู้พิชิตโลกทั้งใบ

เมื่อ 550 ปีก่อนคริสตกาลก็เกิดมหาราชอีกองค์หนึ่งคือไซรัสมหาราชซึ่งเป็นผู้สร้างจักรวรรดิเปอร์เซีย (ซึ่งกินพื้นที่ใหญ่กว่าจักรวรรดิอาคาเรียนหลายสิบเท่า) สิ่งที่ทำให้ไซรัสมหาราชแตกต่างจากพระราชาองค์ก่อนๆ ก็คือท่านไม่ได้มองตัวเองว่าเป็นพระราชาของชาวเปอร์เซียเท่านั้น แต่มองว่าตัวเองเป็นพระราชาของพสกนิกรทุกคนที่ตกอยู่ใต้การปกครองของท่าน

ดังนั้นไซรัสมหาราชจึงมองว่า การขยายอาณาเขตของจักรวรรดิเปอร์เซียนั้น เป็นการทำไปเพื่อประโยชน์สุขของมนุษย์ทุกหมู่เหล่า และประชาชนในเมืองที่ถูกจักรวรรดิเปอร์เซียยึดครองควรจะดีใจที่ได้ท่านมาเป็นพระราชา

แนวคิดว่าการเข้ายึดครองคือการเข้าไปโปรด ถูกส่งต่อมายังอเล็กซานเดอร์มหาราช, จักรพรรดิแห่งโรมัน, เคาลีฟะห์ (ประมุขของอาณาจักรอิสลามต่าง ๆ ) ราชวงศ์ในอินเดีย และรวมถึงประธานาธิบดีของรัสเซียและสหรัฐอเมริกาด้วย วิธีคิดแบบนี้จึงถูกใช้เพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมในการเข้าไปปกครองดินแดนต่างๆ มาโดยตลอด

จักรวรรดิเป็นเหตุผลหลักในการผสมผสาน กฎหมาย ภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนเชื้อชาติและเชื้อสายต่างๆ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้สินค้า ความรู้ เทคโนโลยีส่งต่อกันไปมาได้ง่ายขึ้น

แต่การหลอมรวมนั้นก็ใช่ว่าจะโปรยปรายด้วยดอกกุหลาบ เพราะผู้คนที่ถูกยึดครองต้องใช้เวลาหลายทศวรรษหรือแม้กระทั่งนานนับศตวรรษกว่าจะปรับตัวให้เข้ากับวิถีของผู้ปกครองคนใหม่ (ลองคิดภาพว่าถ้าวันนี้เราโดนประเทศเพื่อนบ้านยึดครองจนเราจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาใหม่ เราต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไหร่กว่าจะปรับตัวได้) และประวัติศาสตร์ก็เต็มไปด้วยเรื่องราวการต่อสู้ของผู้ถูกรุกรานเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ์ที่เขาควรจะได้

แม้จักรวรรดิจะถูกมองว่าเป็น “ผู้ร้าย” ในประวัติศาสตร์ แต่จักรวรรดิก็ได้สร้างคุณูปการให้กับดินแดนที่จักรวรรดิเหล่านั้นเคยแผ่อาณาเขตไม่ถึง

ยกตัวอย่างเช่นประเทศอินเดีย ที่ถูกจักรวรรดิอังกฤษยึดครอง แม้อังกฤษจะเข่นฆ่ชาวอินเดียไปไม่น้อย แต่อังกฤษก็ได้รวมแคว้นต่างๆ ในอินเดีย (ซึ่งก่อสงครามกันประจำ) เข้าไว้ด้วยกัน วางรากฐานกระบวนการยุติธรรมและระบบราชการให้ และสร้างทางรถไฟซึ่งจำเป็นอย่างมากในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของทั้งประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

้เมื่ออินเดียได้เอกราชแล้ว ก็ยังนำระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมาใช้ตามรอยอังกฤษ ภาษาอังกฤษถูกใช้เป็นภาษาราชการที่ทำให้คนท้องถิ่นซึ่งพูดภาษาฮินดี ทมิฬ และมาลายาลัมคุยกันรู้เรื่อง

จักรวรรดิโลก ในศตวรรษที่ 21 เกือบทุกประเทศในโลกต่างก็ต้องพึ่งพากันในเชิงเศรษฐกิจ ไม่มีใครจะสามารถรุกรานใครได้ตามอำเภอใจ แต่ละรัฐต่างก็ต้องปฏิบัติตามกติการและมารยาทของนานาชาติ พลังของทุนนิยมและข้อมูลข่าวสารเป็นกระแสอันเชี่ยวกรากที่กำหนดพฤติกรรมของทุกประเทศบนโลกนี้

จักรวรรดิโลกที่กำลังเกิดขึ้นไม่ได้ถูกปกครองด้วยจักรพรรดิองค์ใดองค์หนึ่ง แต่ด้วยกลุ่มคนผู้มีอิทธิพลจากหลายเชื้อชาติ

ผู้ประกอบการ วิศวกร นักวิชาการ และผู้คนต่างสาขาอาชีพกำลังถูกชักชวนให้เข้าร่วมจักรวรรดิใหม่นี้ พวกเขามีทางเลือกสองทาง คือจะจงรักภักดีกับประเทศของเขา หรือจะเข้าร่วมกับจักรวรรดิที่ได้แผ่อาณาเขตไปกว้างไกลกว่าจักรวรรดิใดที่เคยมีมา

ที่มาบทความ :

https://anontawong.com
เงิน